over 4 years ago -

กำลังคนฝ่ายผลิตของคุณจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?

55

​กำลังคนฝ่ายผลิตของคุณจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?

ข้อความตีพิมพ์ในบล็อกรายงานการผลิต 1

ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทุกอุตสาหกรรมโดยมีภาคการผลิตเป็นด่านแรกของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ของขนาดและความรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นเช่นนี้เสมอ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งวิธีการผลิตสมัยใหม่ ที่เราเรียกว่ารุ่นที่ศูนย์ – ซึ่งอุปมาเทียบได้กับ “พื้นที่ศูนย์” อันเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ต่อมา จากนั้น เรามีรุ่นที่หนึ่งในช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 2005 ซึ่งเป็นยุคที่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงปลายของรุ่นที่สอง ซึ่งจัดกลุ่มโดยใช้พลังการเปลี่ยนแปลงในการปรับปรุงพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและมีการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเป็นเกณฑ์ในการระบุ ในขณะที่แต่ละบริษัทกำลังจะก้าวหน้าในระดับของตนเอง ในปีถัดไป ภาคการผลิตจะเริ่มก้าวเข้าสู่รุ่นที่สามซึ่งเครื่องจักรจะสามารถทำงานด้วยตนเองได้อย่างอิสระ สามารถสอนและเรียนรู้จากกันและกันได้

ช่วงเวลาเป็นสิ่งสำคัญ การเปลี่ยนผ่านจากรุ่นศูนย์มาถึงรุ่นต่อมาใช้เวลาเกือบสามทศวรรษ การเปลี่ยนผ่านครั้งถัดมาลุล่วงได้โดยใช้เวลาน้อยกว่าครึ่งของครั้งแรก ทั้งนี้ รุ่นที่หนึ่งเป็นช่วงเวลาที่แรงงานสามารถเรียนรู้ทักษะและทำงานต่าง ๆ ได้เหมือนกันหมด รุ่นที่สองกินเวลาเพียง 15 ปี และตอนนี้เราเปลี่ยนผ่านมาสู่อีกรุ่นหนึ่งแล้ว อาจพูดได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านเป็นความปกติแบบใหม่ที่เราต้องเผชิญ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานที่เลือกทำงานให้กับกิจการที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อนในครอบครัว ซึ่งเป็นงานประเภทที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง ปัจจุบัน การฝึกอบรมการทำงานไม่ได้สิ้นสุดเพียงครั้งเดียว หากแต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต บริษัทสามารถช่วยบรรเทาความกังวลของพนักงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ได้โดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้งานบางส่วนไร้ประโยชน์ไป บุคลากรก็สามารถพัฒนาทักษะของตนเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่จากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ได้ สำหรับคนที่พร้อมจะเรียนรู้นั้น ยังมีความมั่นคงแฝงอยู่ในการเปลี่ยนแปลง

บริษัทต่าง ๆ อาจคิดว่าพวกเขาจัดการความเปลี่ยนแปลงด้วยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ และกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แต่รุ่นต่อไปล้ำหน้ากว่าระบบอัตโนมัติด้วยการใช้ระบบที่เรียนรู้ด้วยตนเองและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรไม่ได้ทำงานทางกายภาพเท่านั้นแต่ยังสามารถคิดเองได้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ปรากฏการณ์นี้ยิ่งส่งผลกระทบต่อกำลังคนมากกว่าที่เคยรู้สึกมา

ซึ่งหมายความว่า การฝึกอบรมต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างคล่องแคล่ว เราได้ระบุตำแหน่งงาน 165 ตำแหน่งสำหรับงานในอนาคต เราได้แบ่งตำแหน่งงานดังกล่าวออกเป็นขอบเขตงาน 7 ประเภทตามความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานสำหรับงานในอนาคต เราพบว่าการเพิ่มพูนทักษะในระยะสั้นและเน้นเฉพาะจุดเป็นระยะเวลาหกเดือนหรือน้อยกว่า เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (ดู การจ้างงานในสายงานผลิต) การนำเสนอข้อมูลมากเกินไปเป็นระยะเวลาที่นานเกินไปจะทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดจนอึดอัด การฝึกอบรมระยะสั้นที่มีการมอบใบรับรองเพื่อแสดงให้เห็นว่าพนักงานและผู้จัดการได้ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ใดมาบ้าง จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ การฝึกอบรมซ้ำหรือหลักสูตรทบทวนมีความจำเป็นเพื่อเสริมสร้างความรู้ใหม่และไม่ใช่สัญญาณบ่งบอกว่าการฝึกอบรมดั้งเดิมไม่มีประสิทธิภาพแต่อย่างใด

ในรายงาน “มนุษย์ที่เป็นที่ต้องการ” ของเรา ในขณะที่พนักงานทั้งหมดต้องเพิ่มพูนทักษะ สำหรับพนักงานร้อยละ 35 ของทั้งหมด การฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกินหกเดือนน่าจะเพียงพอสำหรับการพัฒนาศักยภาพของพวกเขาให้สูงขึ้น ร้อยละ 9 ต้องการการฝึกอบมรมเป็นเวลา 6 ถึง 12 เดือน ในขณะที่อีกร้อยละ 10 ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอีกขั้นหนึ่ง

ระบบดิจิทัลไม่ได้ทำให้งานหมดไป แต่จะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อตำแหน่งงานส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกัน ระบบดิจิทัลก็ได้สร้างตำแหน่งงานใหม่และสร้างความเติบโตของงานตลอดทั้งภาคการผลิต เมื่อผู้ผลิตต้องเผชิญหน้ากับการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ การเพิ่มพูนทักษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่มีใครสามารถคาดเดาอนาคตได้ แต่หากมีทักษะที่เหมาะสม วัฒนธรรมการเรียนรู้ และการมุ่งเน้นช่วยเหลือบุคลากรให้พัฒนาอาชีพของตนสำหรับตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการ เราจะพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น