about 3 years ago -

ส่อง 21 เทรนด์พัฒนาแรงงาน-องค์กรที่ต้องปรับตัวปี 2564

Thumb News 2

ข่าว | แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาบุคลากรและที่ปรึกษาด้านแรงงาน นำเสนอบริการสิ่งต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับความสำเร็จในโลกของการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ปัจจุบันแมนพาวเวอร์กรุ๊ปมีจำนวน 80 ประเทศทั่วโลก

ท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การแพร่ระบาดทำให้แนวโน้มของแรงงานในปัจจุบันเร่งตัวขึ้นและการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรในสถานที่ทำงาน องค์กรต่าง ๆ ควรเตรียมพร้อมรับมือเพื่อกำหนดอนาคตของการทำงาน

ความไม่แน่นอนและการเกิดแนวโน้มรูปแบบใหม่ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องปฏิรูปแรงงานของตนเพื่อตรวจสอบว่าแรงงานมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นเพื่อที่จะคงอยู่ และปรับตัวสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน องค์กรต่าง ๆ สามารถเตรียมพร้อมดียิ่งขึ้น

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดผลสำรวจ 21 แนวโน้มการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษและอนาคตของการทำงาน ปี 2564 ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษและรูปแบบ “การทำงาน” ใหม่ทั่วโลก

แรงขับเคลื่อนประการแรก คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

แนวโน้มที่ 1 เกิดการขาดแคลนทักษะเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกเพิ่มขึ้นระหว่างแรงงานที่มีทักษะ/ตำแหน่งงานซึ่งเป็นที่ต้องการกับแรงงานที่มีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการลดลง

ผลสำรวจชี้ว่าจากการขาดแคลนทักษะรุนแรงขึ้นเนื่องจากการปฏิรูปกำลังแรงงานครั้งสำคัญตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คาดว่าการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทั่วโลกจะส่งผลให้เกิดตำแหน่งงานว่างกว่า 85 ล้านตำแหน่งภายในปี พ.ศ. 2573 *

ทักษะด้านเทคโนโลยีและทักษะมนุษย์จะเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่งานธุรการ งานต้อนรับและงานด้านการสนับสนุนทางกฎหมาย/ธุรกิจจะเป็นที่ต้องการลดลง บุคลากรและองค์กรจำเป็นต้องมีโซลูชั่นด้านการปรับทักษะใหม่เพิ่มขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

แนวโน้มที่ 2 การแบ่งขั้วทางสังคมเพิ่มขึ้นและความตึงเครียดเกี่ยวกับปัญหาความไม่เสมอภาคทั่วโลกทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องลุกขึ้นและพูดคุยเกี่ยวกับความหลากหลาย, การมีส่วนร่วมและหัวข้ออื่น ๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ

แนวโน้มที่ 3  การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการทำงานระยะไกล ทำให้เกิดแรงงานตามความต้องการมากขึ้นและต้นแบบการทำงานแบบผสม  ซึ่งยอมรับแรงงานแบบไม่เต็มเวลา, แรงงานแบบยืดหยุ่นและแรงงานตามสัญญาจ้างมากขึ้น

แนวโน้มที่ 4 เกี่ยวกับช่องว่างทางเพศที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่ “ภาวะตกต่ำของแรงงานเพศหญิง” เนื่องจากผู้หญิงได้รับผลกระทบในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมจากภาวะวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ ทำให้ตกงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

แรงขับเคลื่อนประการที่สอง คือการเพิ่มขึ้นของทางเลือกของแต่ละบุคคล

แนวโน้มที่ 5 เกี่ยวกับระดับของความต้องการรูปแบบใหม่เรียกร้องให้เกิดการยืดหยุ่นของการทำงาน อิสระและทางเลือกเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปและสุขภาวะในการทำงานได้กลายเป็นบรรทัดฐาน

แนวโน้มที่ 6  ด้านสุขภาพและสุขภาวะทั้งทางกายภาพและจิตใจ ถือเป็นความรับผิดชอบของนายจ้างในระดับที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งทำให้หัวหน้างานทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนสุขภาวะและความสำเร็จของลูกจ้าง

หัวหน้างานทรัพยากรมนุษย์ 63% เห็นว่าสุขภาพและสุขภาวะของลูกจ้างมีความสำคัญที่สุด

แนวโน้มที่ 7 การพบเห็นปฏิสัมพันธ์ทางดิจิทัลทุกหนทุกแห่ง  การนำเครือข่ายสังคมและชุมชนเสมือนจริงมาใช้ทำให้เกิดการนำวิธีการทางดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้เพื่อการปฏิสัมพันธ์ไม่ว่า ณ สถานที่ใด, วิธีการใด และเมื่อใดก็ตาม

แนวโน้มที่  8  กลุ่มลูกจ้างต้องการความโปร่งใสและความเสมอภาคเช่นเดียวกับลูกค้า แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ลูกจ้างต้องการ ได้แก่ ความปลอดภัย, ความยั่งยืนของทักษะ, การผสานงานกับการใช้ชีวิตเข้าด้วยกันและสุขภาวะ

แรงขับประการที่ 3 คือการปฏิวัติเทคโนโลยี

แนวโน้มที่ 9  การพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร การเร่งระบบอัตโนมัติในระดับที่ขับเคลื่อนโดย 5G จะทำให้เกิดการปฏิรูปทักษะรวดเร็วยิ่งขึ้น, เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผลักดันผลิตภาพเพิ่มขึ้น ด้วยค่าจ้างที่สูงขึ้นและตำแหน่งงานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

รายงานของ World Economic Forum ประจำปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 เวลาที่ใช้ในการทำงานในปัจจุบันโดยมนุษย์และเครื่องจักรจะเท่ากัน

อีกทั้งยังมีการประมาณการว่าภายในปี พ.ศ. 2568 ตำแหน่งงาน 85 ล้านตำแหน่งอาจถูกแทนที่โดยการเปลี่ยนแปลงการแบ่งแรงงานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ในขณะที่ตำแหน่งงานใหม่ 97 ล้านตำแหน่งอาจเกิดขึ้นโดยจะปรับใช้ได้มากขึ้นสำหรับการแบ่งแรงงานรูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริทึม

แนวโน้มที่ 10 การเติบโตของไซเบอร์และการทำงานระยะไกลทำให้บริษัททุกแห่งต้องเป็นบริษัทเทคโนโลยีเพื่อที่จะสามารถแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น องค์กรในระดับ “ซูเปอร์สตาร์” ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในด้านการปรับกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลก่อนเกิดการระบาดใหญ่จะกลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แนวโน้มที่ 11 เทคโนโลยีทำให้บุคคลและนายจ้างเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะได้มากขึ้น องค์กรจำเป็นต้องรักษาความสมดุลโดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานตลอดเวลาหรือการเพิ่มผลิตภาพ ด้วยความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในด้านความเป็นเจ้าของข้อมูลและความโปร่งใส

แนวโน้มที่ 12 การเกิดผู้เปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการปรับประสบการณ์ของลูกค้าเป็นรูปแบบดิจิทัล ความสมบูรณ์ของข้อมูล+ความรู้เชิงลึก ช่วยให้เกิดความสามารถในการวัดและประเมินความก้าวหน้าและจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้น การเติบโตของโทรเวชกรรม, เภสัชกรรม, เทคโนโลยีการศึกษาและการดูแลตนเองจะขับเคลื่อนโซลูชั่นดิจิทัลแบบเฉพาะบุคคล

แนวโน้มที่ 13 การปฏิวัติการศึกษา ความต้องการอย่างต่อเนื่องด้านการเพิ่มทักษะและการปรับทักษะจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของการศึกษา การเปลี่ยนแปลงไปสู่การสอนตามความต้องการ, การสอนแบบรับรองคุณวุฒิฉบับย่อยและการสอนเสมือนจริง

 มีองค์กรเพียง 30% เท่านั้นที่ลงทุนในทักษะทางอารมณ์และสังคม ในขณะที่องค์กรหนึ่งในสามกำลังวางแผนพัฒนาความเป็นผู้นำในอีกหกเดือนข้างหน้า

แรงขับประการที่ 4 คือ ความซับซ้อนของลูกค้า

แนวโน้มที่ 14 การเร่งกลยุทธ์ด้านบุคลากรและการจัดการบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเชิงกลยุทธ์ เพื่อทำให้เกิดการผสมผสานของบุคลากรอย่างเหมาะสมที่สุดและสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาด

แนวโน้มที่ 15 การเน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง จะเพิ่มความต้องการด้านการประเมินและโซลูชั่นที่ทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้นและช่วยให้บุคคลรู้จักทักษะและศักยภาพ ด้านอาชีพของตนมากขึ้น

แนวโน้มที่ 16 การสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานจะช่วยลดความไม่แน่นอนและจัดการความเสี่ยงซึ่งนำไปสู่การแข่งขันขององค์กรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทั้งในด้านแพลตฟอร์มและระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกัน

แนวโน้มที่ 17 ความต้องการในรูปแบบใหม่ต่อผู้นำเพื่อทำหน้าที่ผู้นำด้วยความเห็นอกเห็นใจและความคล่องตัวทางดิจิทัล การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล และการมีส่วนร่วมผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาโลกร้อนโดยไม่คำนึงถึงภาคส่วนธุรกิจ พร้อมทั้งมุ่งเน้นที่การฟื้นตัวและความยั่งยืน

นอกจากนี้ แนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นที่น่าจับตามอง แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ระบุว่า

แนวโน้มที่ 18 การปฏิวัติการฟื้นตัวด้วยเทคโนโลยีด้านสุขภาพ, เทคโนโลยีด้านการศึกษา, เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวด้านการดูแลสุขภาพให้คล้ายกับ “อเมซอน” หลังการระบาดใหญ่ เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพและเศรษฐกิจสีเขียว  ในยุคใหม่จะแข่งขันเพื่อแย่งชิงทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการและบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ

แนวโน้มที่ 19 การมุ่งสู่ความก้าวหน้า ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องแสดงความคล่องตัวและปรับตัวตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภคทีเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องหากต้องการเติบโต

แนวโน้มที่ 20 การทำงานแบบผู้บริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนมากขึ้น ความคาดหวังของโอกาสใหม่ ๆ, ความก้าวหน้ารูปแบบใหม่, ประสบการณ์การทำงานและการใช้ชีวิตแบบเสมือนจริงเฉพาะบุคคลจะเป็นความจริงรูปแบบใหม่ในโลกหลังโควิดในรูปแบบดิจิทัลยิ่งขึ้น

และแนวโน้มที่ 21 การจ้างงานที่เป็นศูนย์จะเกิดขึ้นโดยถือเป็นบทสรุปของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลอย่างรับผิดชอบ เนื่องจากความต้องการด้านทักษะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น

นายจ้างชั้นนำจึงมุ่งมั่นที่จะบรรลุความสมดุลของการลดตำแหน่งงานสุทธิให้เป็นศูนย์ เมื่อองค์กรมีการปรับ

ที่มา : marketeeronline

****************************************************************************************************

เกี่ยวกับแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกในการจัดหาแรงงานเชิงนวัตกรรม นำเสนอบริการด้านต่างๆ แก่ผู้ประกอบการในส่วนของกระบวนการจ้างงานและการทำธุรกิจครบวงจร รวมทั้งการสรรหาว่าจ้างพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว และพนักงานแบบมีสัญญาจ้าง, การประเมินผลและการคัดเลือกพนักงาน, การฝึกอบรม, การช่วยหางานใหม่ (Outplacement), การรับเหมาจ้างงาน(Outsourcing) และการให้คำปรึกษา แมนพาวเวอร์ช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการกว่า 400,000 รายต่อปี ซึ่งประกอบด้วยบริษัทขนาดย่อมและขนาดกลางในทุกประเภทธุรกิจ รวมทั้งบริษัทระหว่างประเทศรายใหญ่ที่สุด 

ติดต่อฝ่ายการตลาด: 

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยข่าว | แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาบุคลากรและที่ปรึกษาด้านแรงงาน นำเสนอบริการสิ่งต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับความสำเร็จในโลกของการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ปัจจุบันแมนพาวเวอร์กรุ๊ปมีจำนวน 80 ประเทศทั่วโลก

โทร. 02-171-2345

อีเมล : [email protected]

www.manpowerthailand.com