about 6 years ago -

ยุคหุ่นยนต์บุกโลก แรงงานอยู่เป็นอยู่ได้

12

​ยุคหุ่นยนต์บุกโลก แรงงานอยู่เป็นอยู่ได้

ข่าว | แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาบุคลากรและที่ปรึกษาด้านแรงงาน นำเสนอบริการสิ่งต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับความสำเร็จในโลกของการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ปัจจุบันแมนพาวเวอร์กรุ๊ปมีจำนวน 80 ประเทศทั่วโลก

ประเทศไทยเร่งผลักดันประเทศไทยสู่ ประเทศไทย 4.0 หรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมซึ่งหากนโยบายนี้สำเร็จจะเห็นโฉมหน้าประเทศเปลี่ยนไปอีกมาก เช่นเดียวกับด้านแรงงานที่จะได้รับผลกระทบสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากวันนี้ยังทำในสิ่งเดิม ๆ ที่ตัวเองเคยทำ และไม่คิดหาความรู้ใหม่ ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะทักษะ เพราะทักษะที่แรงงานในยุคปัจจุบันมี ทำได้ดี ทำได้เชี่ยวชาญ อาจไม่ได้เป็นที่ต้องการอีกต่อไปแล้วในยุคของการใช้นวัตกรรม ยุคที่ผู้ประกอบการจะนำหุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติมาใช้มนการทำงาน ในการผลิตมากขึ้น เช่นสาวเย็บผ้าในโรงงาน ต่อให้เย็บได้เรียบร้อยงานละเอียด สวยแค่ไหน แค่บริษัทนำระบบอัตโนมัติที่เย็บได้เองตามคำสั่งที่ถูกป้อน ก็โบกมือลาสาวเย็บผ้าไปได้เลย อย่างไรก็ตาม การมีหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติมาเกี่ยวพันกับงานมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าแรงงานจะสูญสลายไป เพราะถึงแม้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะทำบางสิ่งบางอย่างที่มนุษย์ทำไม่ได้ หรือทำได้ดีกว่า แต่มีหลายอย่างที่หุ่นยนต์และระบอัตโนมัติทำไม่ได้ ยังต้องการมนุษย์เป็นผู้ดำเนินการอยู่ หากแรงงานไม่มัวชะล่าใจในความเก่งกาจของตัวเองที่มีในสายอาชีพปัจจุบัน แล้วพยายามพัฒนาทักษะของตัวเองให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดต้องการในโลกอนาคต โอกาสเป็นผู้อยู่รอด แต่เป็นผู้ที่ถูกแย่งชิงตัวด้วย จากข้อมูลของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ระบุถึงแนวโน้มการทำงานยุคที่ระบบอัตโนมัติทยอยมามีส่วนในงานโดยอ้างอิงข้อมูลขององค์กรเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของสหราชอาณาจักร (เนสต้า) ว่าครึ่งหนึ่งของตำแหน่งงานที่จะเพิ่มในปี 2573 จะมาจากการประกอบอาชีพที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสาธารณะ เช่น งานด้านสุขภาพและสวัสดิการ ขณะที่ 26% จะเป็นงานที่ใช้ทักษะไม่สูงของภาคเอกชนและ 24% เป็นงานที่ต้องการทักษะสูง แนวโน้มตลาดแรงงานจะต้องการพนักงานที่เรียนรู้ทักษะใหม่ๆและพัฒนาทักษะของตัวเองให้พร้อมใช้งานสม่ำเสมอ สอดคล้องกับที่ เจอราร์ด เกรช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทค ซิตี้ ในสหราชาณาจักร ที่เคยระบุว่า การปรับปรุงและยกระดับทักษะจะกลายเป็นเรื่องที่ทำเป็นปกติ เพื่อรองรับงานในอนาคต นี่เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ยืนยันว่าแรงงานไม่อาจหยุดเรียนรู้เพราะคิดว่าตัวเองมีดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไร แต่ต้องตื่นตัวเรียนรู้เรื่องใหม่ตลอดเวลา ให้ตัวเองยังเป็นแรงงานที่ได้ไปต่อในโลกอนาคต เรื่องนี้อาจหวังให้แรงงานตื่นตัวเองฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาร่วมด้วย เพราะแรงงานบางคน อาจยังไม่รู้สึกตัวถึงผลกระทบและโอกาสววันข้างหน้าจากการใช้หุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ ที่ผ่านมาเริ่มเห็นการส่งสัญญาณต่อเนื่องทั้งฝั่งภาครัฐ เอกชน และถสาบันการศึกษา เรื่องการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคลล้องกับความต้องการยุคใหม่ แต่หากการพัฒนาไร้ทิศทางจะทำให้แรงงานที่ผลิตออกมาใหม่ป้อนตลาด ไม่ได้มีทักษะตรงตมความต้องการของตลาดจริง ๆ ดังนั้นการร่วมมือระหว่างทุกหน่วยงานเพื่อเดินหน้าพัฒนาทักษะแรววานไปในทิศทางเดียวกันจึงเป็นคำตอบที่ใช่กว่าต่างหาก สำหรับภาคการศึกษาตัวแปรสำคัญที่จะสร้างแรงงานไทยให้เป็นผู้ที่พร้อมรับมืองานยุคใหม่ รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ในอดีต เน้นท่องจำและฟังอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้รู้จักคิดสร้างสรรค์ ไม่ปิดกั้นทางความคิด ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างเด็กรุ่นใหม่ให้โตเป็นคนที่พร้อมพัฒนาทักษะได้ตลอดเวลา ด้านการกระตุ้นให้แรงงานที่อยู่ในระบบอยู่แล้วพัฒนาตนเอง ก็เป็นอีกประเด็นท้าทาย เข้าตำรา ไม้แก่ดัดยาก (แต่ก็ใช่ว่าจะดัดไม่ได้) หากมีแรงจูงใจที่ดี เชื่อว่าแรงงานพร้อมพัฒนาตนเองให้มีทักษะใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งผู้บริหารและฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลแต่ละองค์กร คือหัวจักรสำคัญที่จะวางแผนเตรียมแรงงานให้พัฒนาตัวเองได้ อย่าคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนที่องค์กรจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์และมองเป็นหน้าที่ของแรงงานในการลงไปพัฒนาตัวเองอย่างเดียว เพราะหากองค์กรต้องการให้ธุรกิจมีความสามารถแข่งขันสูงขึ้น ต้องเร่งเครื่องให้คนของตัวเองพร้อมโดยเร็วที่สุด ต่อให้เครื่องจักร หุ่นยนต์พร้อม แต่ขาดคนพร้อมใช้งานก็จบ สอดคล้องกับงานวิจัยที่ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำซึ่งระบุว่า แรงงานไทย 3 ล้านคน เข้าข่ายกลุ่มที่ทำงานซ้ำ ๆ เป็นแบบแผนในภาคการผลิตอาจตกงานได้ใน 10 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่ปรับปรุงทักษะ เพราะมีโอกาสถูกหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติแทนที่ เช่นเดียวกับแรงงานที่จบใหม่ด้านสังคมศาสตร์ก็อาจจะหางานยากขึ้น เพราะไม่ได้มีทักษะตรงกับที่ตลาดต้องการ กลุ่มที่อยู่รอดและเป็นที่ต้องการได้ จะต้องเป็นแรงงานที่มีความสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยี ซึ่งก็ต้องอาศัยทักษะภาษาอังกฤษร่วมด้วย หากสร้างบิ๊กดาต้ารวมข้อมูลตำแหน่งงาน ทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการในอนาคตจับคู่กับแรงงานที่สถาบันการศึกษาผลิตออกมาได้ก็จะเป็นเรื่องดี เพราะจะรู้ว่าทักษะใดยังขาด และต้องเร่งพัฒนาคน ขณะที่ภาครัฐต้องเดินหน้าเข้าไปสนับสนุนงบดูแลแรงงานที่มีความเสี่ยงตกงาน เน้นให้กลุ่มนี้พัฒนาทักษะใหม่ รับงนใหม่ๆ แม้เป็นต้นทุนที่รัฐเสียไปแล้วอาจไม่ได้ผลกำไร แต่หากการพัฒยาทักษะทำให้ผู้ประกอบการมีความสามารถผลิตดีขึ้น ทำกำรได้มากขึ้น ก็ย่อมกลับมาเป็นภาษีจ่ายคืนให้รัฐบาลสูงขึ้นเช่นกัน เหล่านี้คือความท่าทายในตลาดแรงงานยุคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติบุกโลก ขอแค่รู้จักปรับตัวยกตัวเองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ หรือมีทักษะใหม่ๆ ที่ช่วยธุรกิจได้ ถึงอย่างไรก็อยู่รอด

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์

****************************************************************************************************

เกี่ยวกับแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกในการจัดหาแรงงานเชิงนวัตกรรม นำเสนอบริการด้านต่างๆ แก่ผู้ประกอบการในส่วนของกระบวนการจ้างงานและการทำธุรกิจครบวงจร รวมทั้งการสรรหาว่าจ้างพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว และพนักงานแบบมีสัญญาจ้าง, การประเมินผลและการคัดเลือกพนักงาน, การฝึกอบรม, การช่วยหางานใหม่ (Outplacement), การรับเหมาจ้างงาน(Outsourcing) และการให้คำปรึกษา แมนพาวเวอร์ช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการกว่า 400,000 รายต่อปี ซึ่งประกอบด้วยบริษัทขนาดย่อมและขนาดกลางในทุกประเภทธุรกิจ รวมทั้งบริษัทระหว่างประเทศรายใหญ่ที่สุด

ติดต่อฝ่ายการตลาด:

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย

โทร. 02-171-2345

อีเมล : [email protected]

www.manpowerthailand.com

Tag:  สมัครงานบริษัทจัดหางานRecruitmentRecruitment Agencyจบใหม่เตรียมตัวอย่างไรให้ได้งาน