about 2 years ago -

5 วิธีพัฒนาบุคลากร “ช่างเทคนิค” – อาชีพ “ผู้ปิดทองหลังพระ” ในทุกอุตสาหกรรม

“ช่างเทคนิค” หรือ Technician

​​​​เบื้องหลังความราบรื่นของระบบงานและความสำเร็จขององค์กรต่าง ๆ มีผู้ปิดทองหลังพระมากมาย และเชื่อว่าหนึ่งในนั้น คงไม่พ้น “ช่างเทคนิค” หรือ Technician ประจำบริษัท ที่คอยวางระบบ ดูแลรักษา ตลอดจนแก้ปัญหาติดขัดต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ซึ่งตรงนี้รวมถึงแทบจะทุกระบบ ทุกอุปกรณ์ที่เราเห็นกันจนชินตาในที่ทำงาน

“ช่างเทคนิค” หรือ Technician

แม้ทุกคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “ช่างเทคนิค” เป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ ว่างานของช่างเทคนิคมีอะไรบ้าง?

หน้าที่ของช่างเทคนิค อาจเรียกได้ว่า “ครอบจักรวาล” เลยทีเดียว เพราะดูแลตั้งแต่การติดตั้ง ซ่อมบำรุง แก้ไข และตรวจเช็คงานของระบบนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องจักรในโรงงาน ระบบลิฟต์ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสาร และอื่น ๆ อีกมากมายในทุดอุตสาหกรรม หากขาดช่างเทคนิคไปสักคนในวันที่ระบบมีปัญหา ก็เป็นไปได้ว่า บริษัทหรือโรงงานอาจไม่สามารถปฏิบัติงานได้เลย

“ช่างเทคนิค” หรือ Technician

ดังนั้นที่บอกว่า “ปิดทองหลังพระ” หรือให้ถูกคือ “ปิดทองหลังเครื่องจักร” คงไม่เกินจริงเลย เพราะพวกเขาเหล่านี้ คือฮีโร่ที่อยู่เบื้องหลังเครื่องยนต์ เครื่องจักรและไลน์การผลิตตามนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ นั่นเอง

ช่างเทคนิคแบ่งออกเป็นหลายประเภท มีความเชี่ยวชาญชำนาญการแตกต่างกันออกไป ทั้งช่างเทคนิคด้านวิศวกรรม ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านอุตสาหกรรมจักรกล ด้านไฟฟ้า ด้านไฮดรอลิก ด้านเภสัชกรรม และอื่น ๆ แต่กว่าบุคลากรช่างเทคนิคแต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญนั้น ต้องผ่านการอบรมเรียนรู้ทักษะเฉพาะทางอย่างเข้มข้น ฝึกฝนอย่างหนัก สั่งสมชั่วโมงบิน เพื่อที่จะสามารถระบุและแก้ไขปัญหาขัดข้องได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ไม่ให้การทำงานของระบบต่าง ๆ สะดุดเป็นอันขาด เพราะนั่นอาจหมายถึงมูลค่าทางธุรกิจมหาศาลที่บริษัทต้องสูญเสีย

เมื่อเห็นความสำคัญของ “ช่างเทคนิค” กันแล้ว แน่นอนว่าการวางแผนการพัฒนาช่างเทคนิคในบริษัทของคุณเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ !!!

และนี่คือ 5 วิธีที่ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือ HR ของบริษัท ควรพิจารณาปรับใช้ เพื่อสามารถดึงดูดหรือรักษาช่างเทคนิคเก่ง ๆ ให้อยู่กับบริษัทได้นาน ๆ

1. จัดคอร์สฝึกอบรมหรือเทรนนิ่งเฉพาะทางต่าง ๆ ที่ให้ความรู้หรือฝึกฝนทักษะด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ช่างเทคนิคของคุณเสมอ

เครื่องจักรอาจเป็นแขนขาของโรงงาน แต่ช่างเทคนิคคือกระดูกสันหลัง ! เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง มีแต่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้นจึงสำคัญมากที่ช่างเทคนิกจะต้องอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจกลไกในการใช้งาน ติดตั้ง ซ่อมบำรุง หรือ เสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบที่เหมาะกับยุคสมัย สะดวกต่อการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย เป็นผู้ขับเคลื่อนและแก้ไขจุดบกพร่องในไลน์ผลิตหรือเครื่องกลต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ผลผลิตออกมาได้คุณภาพและงานออกมามีประสิทธิภาพ

2. มีการวางแผนงาน และจัดลำดับความสำคัญของงาน (Priority) อย่างเป็นระบบระเบียบ

ช่างเทคนิคที่ดีควรรู้เสมอว่าขั้นตอนในหน้าที่ของตนเองคืออะไร มีความเข้าใจว่างานใด หรือ จุดใดสำคัญกว่าที่ต้องได้รับการดูแลหรือแก้ไขเป็นอันดับแรก บริษัทหรือโรงงานจึงควรอย่างยิ่งที่จะมีการชี้แจงลำดับความสำคัญของงานอย่างชัดเจนและเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อไม่ให้ช่างเทคนิคต้องเสียเวลาไปกับงานที่ไม่จำเป็น หรือ แก้ไขปัญหาผิดจุดจนงานล่าช้า เพราะปัจจุบัน ในโลกของธุรกิจ “ความรวดเร็ว” ในการแก้ปัญหา อาจเป็นจุดชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้เลย

3. ตั้งเป้าหมายความสำเร็จหรือผลงานที่คาดหวังให้ชัดเจน

ทุกตำแหน่งงานในปัจจุบันย่อมมีตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน หรือ KPI ช่างเทคนิคก็เช่นกัน บริษัทหรือองค์กรควรมีการตั้งเป้าหมายให้แจ่มแจ้ง เพราะจะสามารถทำให้ช่างเทคนิคสามารถใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือ ควรมีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จของงานประจำทุกปีที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะงานประจำวัน แต่รวมถึงการฝึกอบรม การเพิ่มทักษะ การจัดระบบงาน หรือแม้แต่การพัฒนาภาวะผู้นำ การตั้งเป้าหมาย performance ที่ครอบคลุมทุกด้านเหล่านี้ จะเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลไปในตัว ทำให้บริษัทมีพนักงานที่พร้อมพัฒนาทักษะ และรักษาประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีอยู่เสมอ

4. เสนอค่าตอบแทน และสวัสดิการที่น่าดึงดูด

แน่นอนว่า “ค่าตอบแทน” ซึ่งรวมถึงเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ ย่อมเป็นแรงดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอยากเข้าทำงานกับบริษัท และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้บริษัทรักษาพนักงานที่ดีเอาไว้ได้นาน ๆ ด้วย สำหรับเงินเดือน ก็ควรจะอยู่ในระดับเดียวหรือสูงกว่าอัตราเงินเดือนของวิชาชีพนั้น ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ ส่วนสำหรับสวัสดิการ ผลสำรวจของต่างประเทศพบว่า ช่างเทคนิคส่วนใหญ่จะพึงพอใจหากบริษัทมี 4 สวัสดิการหลัก ได้แก่

1). แพ็กเกจประกัน ซึ่งรวมถึงประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และค่าทำฟัน

2). กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ เงินสะสมหลังเกษียณอายุ

3). วันลาพักร้อนโดยได้รับเงินเดือน วันลาป่วย และวันลาหยุดตามกฎหมาย

4). สวัสดิการหรือกิจกรรมสันทนาการพิเศษต่าง ๆ เพื่อกระชับสัมพันธ์ในออฟฟิศ

5. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะวิชาชีพ

สนับสนุนให้ช่างเทคนิคพัฒนาตนเองเสมอ ในส่วนของหัวหน้างานหรือ HR ก็สามารถช่วยให้คำแนะนำหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ช่างเทคนิคพัฒนาต่อยอดทักษะวิชาชีพที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าหรือทางเลือกในสายอาชีพให้เหมาะกับความต้องการของตลาดมากขึ้น การแนะแนวหรือสนับสนุนนี้ จะทำให้พนักงานเห็นถึงความเป็นไปได้ในเส้นทางการเติบโต และจะสามารถเพิ่มความรู้สึกด้านบวกกับความรักในงานที่ตัวเองทำและบริษัทได้อีกด้วย

ขณะนี้ งานสายช่างเทคนิคในภาคเหนือ ของประเทศไทยเป็นมีความต้องการสูงมากและเรา - แมนพาวเวอร์กรุ๊ป สาขาลำพูน พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่ หากบริษัทหรือโรงงานของคุณกำลังหาช่างเทคนิค หาพนักงานที่มากด้วยประสบการณ์สำหรับบริษัท โรงงาน หรือ นิคมอุตสาหกรรมของคุณอยู่ล่ะก็...ติดต่อแมนพาวเวอร์กรุ๊ปโดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้มาได้เลยค่ะ เพราะเรา #ถนัดหาคน #ถนัดหางาน

อ้างอิงข้อมูลจาก : RTAFLEET , SmartService , Greenwinpm

Fill your Requirements