almost 2 years ago -

Growth Mindset สำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาองค์กร ?

Blank

มีหลายตำรากล่าวไว้ว่า "Growth Mindset" คือสิ่งจำเป็นขององค์กรในยุคนี้ หากที่ไหนมีบุคลากร หรือพนักงานที่เต็มไปด้วย Growth Mindset องค์กรนั้นจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Growth Mindset คืออะไร ?

mpg-blog-800x400-1.jpg

Growth Mindset มาจากงานวิจัยของ มาจากการวิจัยของ ดร. แครอล เอส. ดเว็ค (Carol S. Dweck) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ Mindset : The New Psychology of Success ซึ่งจากการวิจัย สามารถสรุปผลออกมาได้ว่า

มนุษย์เรามีกรอบความคิดอยู่ 2 ประเภท

​​1.กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) คือ รูปแบบความคิด หรือทัศนคติที่พร้อมพัฒนา และเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เปรียบเสมือน "แก้วน้ำ" ที่ไม่เต็มแก้ว

2.​กรอบความคิดแบบจำกัด (Fixed Mindset) คือรูปแบบความคิดที่จำกัดความสามารถตัวเองเท่าที่มี และเชื่อว่าไม่สามารถพัฒนาไปได้มากกว่านี้ เหมือนคนที่มี "พรสวรรค์" แต่ไม่มี "พรแสวง" นั่นเอง

​​คนที่มี Growth Mindset จะมีความเชื่อว่ามนุษย์เราสามารถพัฒนาได้เรื่อย ๆ ผ่านการเรียนรู้ ประสบการณ์ และความพยายาม เรียกให้เข้าใจง่าย ก็เหมือนคนที่มี "พรแสวง" ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อกระทำการใด จะไม่สนใจเรื่องของผลลัพธ์ ว่าจะออกมาสำเร็จ หรือล้มเหลว พวกเขาสามารถมองหาข้อดี หรือเรียนรู้จากข้อผิดพลาดได้เสมอ จะสังเกตได้ว่า คนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) นั้น เมื่อถึงจุดที่พวกเขา "ล้ม" พวกเขาจะสามารถ "ลุก" ขึ้นมาได้ไว

​​

แล้วเราจะสามารถสร้าง Growth Mindset อย่างไร ?

หลักการ 4 ข้อ ง่าย ๆ สำหรับคนที่ต้องการสร้าง Growth Mindset ให้กับตัวเอง หรือแม้กระทั่ง ฝ่ายบุคคล (HR) ที่ต้องการให้พนักงานมี Growth Mindset คือ เราต้องนำพาตัวเอง หรือพวกเขาออกจากกรอบเดิม ๆ 4 ข้อดังนี้

  1. พื้นที่ที่คุ้นเคย (Comfort Zone)

  2. ความเชื่อที่เป็นข้อจำกัด (Limiting Belief)

  3. การยึดติดกับกรอบความคิดเดิม (Fixed Mindset)

  4. ทัศนคติเชิงลบ (Negative Thinking)

​​

การนำ Growth Mindset มาใช้ในองค์กร

ผู้ที่ทำให้กระแส Growth Mindset เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น มาจากการที่ Satya Nadella นำหลักการ Growth Mindset มาใช้หลังจากที่เขาได้รับตำแหน่ง CEO คนใหม่ของ Microsoft ซึ่งสิ่งแรกที่เขาคิดจะทำคือ "การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร" และแน่นอน Growth Mindset ได้ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นหัวใจหลักของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

Satya กล่าวไว้ว่า "ไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้เสมอ หากองค์กรมีวัฒนธรรมที่ รับฟัง เรียนรู้ และให้โอกาส และสิ่งเหล่านี้คือหน้าที่ของ CEO" 

จะเห็นได้ว่า บางครั้งหากต้องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร จะต้องเริ่มจากผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือฝ่ายบุคคล (HR) เป็นผู้ปลูกฝัง Growth Mindset ให้พนักงาน ให้พวกเขาพร้อมรับมือกับงาน หรืออุปสรรคที่ท้าทาย รู้จักเรียนรู้จากข้อผิดพลาด พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ เพราะ Growth Mindset ไม่ได้หมายความเฉพาะกรอบความคิดของตนเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึง ตัวเราเองก็ไม่ควรที่จะไปตีกรอบความคิดของใคร เช่นว่า "เขาทำได้แค่นี้นะ" หรือ "เขาไม่เหมาะสมกับงานชิ้นนี้หรอก" 

การสร้าง Growth Mindset ให้พนักงาน

เมื่อองค์กรมีพนักงานที่มี Growth Mindset ที่ดี ก็สามารถนำพามาสู่บรรยากาศที่ดีในการทำงาน และเมื่อทุกคนมีความสุขกับงาน เพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้ว งานก็จะออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด

จากผลการวิจัยของ Carol S. Dweck บอกว่าลักษณะของพนักงานที่มี "Growth Mindset" ที่ดีจะมีลักษณะ :

  • 47% มีแนวโน้มที่จะบอกว่าเพื่อนร่วมงานของเขาน่าเชื่อถือ

  • 34% มีแนวโน้มที่จะรู้สึกถึงความภักดี และมุ่งมั่นจะทำเพื่อองค์กร

  • 65% มีแนวโน้มที่จะบอกว่าบริษัทสนับสนุนการรับความเสี่ยง

  • 49% มีแนวโน้มที่จะบอกว่าบริษัทส่งเสริมการพัฒนา

ดังนั้นสำหรับ HR หรือหัวหน้าทีม หากคุณต้องการสร้างให้พนักงานของคุณมี Growth Mindset อย่างเต็มเปี่ยม ลองเริ่มจากการรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน, เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้มีโอกาสเสนอไอเดียใหม่ ๆ, ให้สวัสดิการเป็นเงินสำหรับเรียนเสริมความรู้พัฒนาตนเอง, จัดอบรม หรือเทรนนิ่งต่าง ๆ

หากพนักงานเห็นว่าเราให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ก็จะเกิดความรัก ผูกพันองค์กร และตอบแทนด้วยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

หากองค์กรใดกำลังมองหาพนักงานที่มี Growth Mindset ดี ๆ แบบนี้ ปรึกษาแมนพาวเวอร์ได้เลยนะคะ เพราะเรา - แมนพาวเวอร์กรุ๊ป - เก่งในเรื่องหาคน ถนัดหางานค่ะ🙂

Source :Forbes , Harvard Business Review , thegrowthmaster