14 วัน ที่ผ่านมา -

4 ประโยชน์ที่องค์กรได้รับจาก Hybrid Working ในยุคหลังโควิด

พนักงานผู้หญิงกำลังประชุมออนไลน์ที่คาเฟ่ ตามรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้พลิกโฉมการทำงานขององค์กรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างฉับพลัน หนึ่งในรูปแบบที่เกิดขึ้นและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องคือ รูปแบบการทำงานแบบ “Hybrid Working” หรือการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการนั่งทำงานในออฟฟิศและการทำงานจากที่ไหนก็ได้แบบระยะไกล ซึ่งแน่นอนว่าเทรนด์การทำงานในลักษณะนี้กำลังมาแรงและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมอบทั้งความยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานในยุคปัจจุบัน

การทำงานแบบ Hybrid Working คืออะไร ? มากกว่าแค่ Work from Home

Hybrid Working คือรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องสถานที่ทำงาน โดยพนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะที่ออฟฟิศ ที่บ้าน หรือ Co-Working Space ต่าง ๆ 

โดยทั่วไป องค์กรมักจะกำหนดวันเข้าออฟฟิศและวันทำงานจากระยะไกลตามความเหมาะสมของธุรกิจและลักษณะงาน เช่น อาจกำหนดให้พนักงานเข้าออฟฟิศ 2-3 วันต่อสัปดาห์ และทำงานจากที่อื่นในวันที่เหลือ ซึ่งการจัดสรรเวลาในรูปแบบนี้จะช่วยให้ทั้งองค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์ในแง่ที่แตกต่างกันออกไป

ประโยชน์ที่องค์กรและพนักงานได้รับจากการทำงานแบบ Hybrid Working

1. พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพ องค์กรได้งานคุณภาพ

การทำงานแบบ Hybrid ช่วยให้พนักงานได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ส่งผลให้พวกเขามีสมาธิและสามารถผลิตงานคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากงานบางประเภทต้องการความเงียบสงบ เช่น การเขียนรายงานหรืองานโปรแกรมมิ่ง ซึ่งทำได้ดีที่บ้าน ในขณะที่งานสร้างสรรค์หรืองานที่ต้องทำเป็นทีมก็มักจะเหมาะกับการเข้าออฟฟิศเพื่อระดมความคิดร่วมกันมากกว่า

2. ลดต้นทุนการดำเนินงาน

เมื่อใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working พนักงานสามารถสลับวันเข้าออฟฟิศกันได้ ทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องมีโต๊ะทำงานสำหรับทุกคนพร้อมกัน จึงสามารถลดขนาดพื้นที่ออฟฟิศและประหยัดทั้งค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงค่าบำรุงรักษาได้อย่างมาก นอกจากนี้ หลายองค์กรยังนำระบบ Hot-desking มาใช้ โดยให้พนักงานจองพื้นที่ทำงานก่อนเมื่อต้องการเข้าออฟฟิศ ซึ่งช่วยให้ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ

คนรุ่นใหม่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ดังนั้น เมื่อบริษัทมีระบบการทำงานแบบ Hybrid พนักงานรุ่นใหม่ที่มีความสามารถก็จะให้ความสนใจและอยากมาร่วมงานด้วย อีกทั้งพนักงานปัจจุบันยังจะรู้สึกว่าองค์กรมีแนวคิดทันสมัย ใส่ใจความต้องการของพวกเขา และไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความผูกพันและแรงจูงใจในการทำงานกับองค์กรในระยะยาว

4. ส่งเสริมสุขภาพจิตและ Work-Life Balance

การทำงานแบบ Hybrid ช่วยลดเวลาเดินทางมาออฟฟิศได้อย่างมาก ทำให้พนักงานมีเวลาให้ครอบครัวและตัวเอง สามารถจัดสมดุลชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลดีก็คือ พนักงานมีความเครียดน้อยลง ทั้งยังลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ทั้งยังต่อยอดถึงประสิทธิภาพการทำงานและความสุขในชีวิตโดยรวมของเหล่าพนักงานด้วย 

 แนวทางการปรับตัวขององค์กรไทยสู่การทำงานแบบ Hybrid Working

เมื่อเห็นประโยชน์ของการทำงานแบบ Hybrid แล้ว หลายองค์กรคงอยากนำวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้มาปรับใช้บ้าง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องทำอย่างมีแผนและเป็นระบบ ซึ่งเรามีแนวทางมาแนะนำดังต่อไปนี้

1. กำหนดนโยบาย Hybrid Working ให้ชัดเจน

องค์กรควรวางกรอบการทำงานที่ชัดเจน โดยระบุว่าตำแหน่งงานใดสามารถทำงานจากที่ไหนได้บ้าง รวมถึงจำนวนวันที่ต้องเข้าออฟฟิศต่อสัปดาห์ควรมีกี่วัน และวิธีวัดผลการทำงานเป็นอย่างไร ทั้งนี้ นโยบายที่ดีควรยืดหยุ่นเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานทุกระดับ และต้องชัดเจนพอที่จะให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

2. นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการทำงาน

การลงทุนในเครื่องมือดิจิทัลถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานแบบ Hybrid ไม่ว่าจะเป็นการใช้แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ ซอฟต์แวร์บริหารโปรเจกต์ หรือระบบคลาวด์ที่ปลอดภัย โดยองค์กรควรเลือกเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดอบรมให้พนักงานสามารถใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่ว

3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

การที่พนักงานในทีมทำงานต่างสถานที่กัน และเจอกันบ้างในบางวันเมื่อเข้าออฟฟิศ อาจทำให้ความรู้สึกเป็นทีมเดียวกันไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ดังนั้น บริษัทจึงควรหาวิธีเชื่อมโยงพนักงานเข้าด้วยกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น Team Building เสมือนจริง หรือการพบปะสังสรรค์ในโอกาสพิเศษ และที่สำคัญ ควรสื่อสารกับพนักงานเรื่องสถานการณ์บริษัท ทั้งความสำเร็จ ปัญหา ความท้าทาย รวมถึงกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่บริษัทกำลังดำเนินการอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขายังรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แม้จะทำงานจากระยะไกลก็ตาม

4. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะพนักงาน

การทำงานแบบ Hybrid ต้องการทักษะเฉพาะทาง ทั้งด้านเทคโนโลยี การบริหารเวลา การสื่อสาร และความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง ดังนั้น องค์กรจึงควรจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับพนักงานทุกระดับ นอกจากนี้ ยังควรสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานพร้อมรับมือกับความท้าทายของรูปแบบการทำงานใหม่ได้

หลังบริษัทจัดให้มีการทำงานแบบ Hybrid Working พนักงานก็เลือกทำงานที่บ้าน

สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาบุคลากรคุณภาพที่เหมาะกับยุค Hybrid Working ในฐานะ Recruitment Agency ในไทย Manpower พร้อมให้บริการสรรหาพนักงานประจำที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งผู้จัดการ (Manager) ที่สามารถบริหารทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในออฟฟิศและทางไกล หรือพนักงานที่มีทักษะดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เรามีเครือข่ายผู้สมัครคุณภาพและขั้นตอนการคัดกรองที่ช่วยให้คุณประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร

พร้อมกันนี้ เรายังให้คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อให้คุณได้บุคลากรที่ตอบโจทย์การทำงานแบบ Hybrid มากที่สุด สนใจบริการรับจัดหาพนักงานประจำ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มได้เลย แล้วเจ้าหน้าที่ของเราจะติดต่อกลับอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลอ้างอิง

  1. The Advantages and Challenges of Hybrid Work. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 จากhttps://www.gallup.com/workplace/398135/advantages-challenges-hybrid-work.aspx.