ประมาณ 1 ปี ที่ผ่านมา - Relevant Audience

รายงานตัวว่างงานเหมือนกัน แต่ทำไมได้เงินชดเชยไม่เท่ากัน?

[Manpower] Seo Mar C01 1

ตลอดอาชีพการทำงานของเราทุกคน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างการโยกย้ายที่ทำงานหรือเปลี่ยนบริษัทเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเพราะการเติบโตในอาชีพ ความต้องการเปลี่ยนสายงาน หรือเหตุผลอื่น ๆ ก็ตาม โดยในระหว่างนั้นหลายคนอาจต้องเจอกับภาวะ “ว่างงาน” ซึ่งพนักงานบริษัทหรือผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) คงทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีสิทธิ์รายงานตัวว่างงาน เพื่อขอรับเงินชดเชยจากระบบประกันสังคมได้นั่นเอง

พอรายงานตัวไปและได้รับเงินชดเชยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่พอลองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ  บางคนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมได้เงินชดเชยว่างงานไม่เท่ากัน แล้วเงินชดเชยว่างานถูกคำนวณอย่างไร? แมนพาวเวอร์จะพามาหาคำตอบในบทความนี้

ทำไมแต่ละคนถึงได้เงินชดเชยว่างงานไม่เท่ากัน?

เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ อันดับแรกต้องบอกให้ทราบกันก่อนว่าสิทธิ์การได้รับเงินชดเชยว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 

  1. ลาออกจากงาน - เมื่อตัวพนักงานเป็นฝ่ายที่เลือกหยุดทำงานกับองค์กรนั้น ๆ เอง

  2. การถูกเลิกจ้างหรือหมดสัญญาจ้างงาน - เมื่อองค์กรหรือบริษัทตัดสินใจยุติการว่าจ้างพนักงานบุคคลดังกล่าว หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงานและไม่มีการต่อสัญญา


ซึ่งหลักเกณฑ์ที่จะทำให้ผู้ที่รายงานตัวว่างงานมีสิทธิ์ขอรับเงินทดแทน คือ เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 และจำเป็นต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ คือ หากว่างงานเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ต้องนับระยะเวลาย้อนหลัง 15 เดือน หรือก็คือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ว่าระหว่างนี้มีการจ่ายเงินประกันสังคมครบ 6 เดือนหรือไม่ เมื่อแน่ใจแล้วว่ามีการจ่ายเงินสมทบครบถ้วน ก็สามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานได้ทันทีหรือภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน หากสงสัยว่าจะลงทะเบียนว่างงานอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

โดยการที่ตัวผู้ว่างงานจะได้รับเงินชดเชยในอัตราเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเกิดการว่างงานจากกรณีไหนระหว่างสองกรณีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นข้อควรคำนึงอันดับแรกที่ต้องรู้เอาไว้คือ “ลาออกเอง” หรือ ”ถูกเลิกจ้าง” กันแน่ มาดูกันว่าแต่ละกรณีนั้นจะได้รับอัตราเงินชดเชยเท่าไหร่บ้าง

  • กรณีที่ 1: ลาออกจากงาน

ในกรณีแรกที่ตัวพนักงานเป็นผู้ตัดสินใจลาออกเอง สำนักงานประกันสังคมได้ระบุไว้ว่าจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะถูกคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อรอบใน 1 ปี


  • กรณีที่ 2: ถูกเลิกจ้างหรือหมดสัญญาจ้างงาน

สำหรับกรณีนี้ ผู้รายงานตัวว่างงานจะได้รับเงินชดเชยในอัตราที่สูงกว่ากรณีแรก ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย คำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เหมือนกันกับกรณีแรก แต่จะได้รับเงินชดเชยเป็นระยะเวลานานกว่า โดยอยู่ที่ระยะเวลาไม่เกิน 180 วันต่อรอบใน 1 ปี


การคำนวณเงินชดเชยว่างงาน ทำอย่างไร?

การคำนวณเงินชดเชยว่างงาน สามารถทำคร่าว ๆ ได้ ดังนี้

(ค่าจ้างที่ได้ ✕ อัตราเงินทดแทน) ✕ จำนวนวันสูงสุด ÷ 30 = จำนวนเงินชดเชยสูงสุด

เช่น หากคุณได้ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท และทำการลาออกจากงาน สามารถคำนวณได้ดังนี้ 30,000 ✕ 30% (อัตราเงินทดแทน) ✕ 90 วัน ÷ 30 วัน = 27,000 บาท คิดเป็นวันละ 300 บาท (27,000 ÷ 90)

โดยที่จำนวนเงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงสุดที่จะได้ภายในระยะเวลา 90 วันหรือ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ว่างงานจะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนเสมอไป เพราะเงินว่างงานจะจ่ายเป็นจำนวน “รายวัน” และจ่ายให้ตามระยะห่างของการรายงานตัวว่างงานในแต่ละครั้ง เป็นเหตุในเงินชดเชยว่างงานที่ได้รับในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ในการรายงานตัวครั้งแรก มีระยะห่างของวันรายงานตัว 30 วัน ส่วนการรายงานตัวครั้งที่ 2 มีระยะห่างของวันรายงานตัว 25 วัน ทำให้เงินชดเชยที่ได้รับในครั้งแรกมากกว่าครั้งที่สองนั่นเอง

ทั้งนี้ ต้องคำนึงเอาไว้ว่าเงินชดเชยว่างงานทั้งหมดจะคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำที่เดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เงินจะโอนเข้าบัญชีที่ได้ระบุเอาไว้ภายใน 5 - 7 วันทำการโดยประมาณ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติ แต่ไม่นับรวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ข้อสำคัญควรรู้ ผู้ว่างงานใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้หรือไม่?

อีกหนึ่งความกังวลของผู้ที่ว่างงานคือ เรื่องของ “สิทธิประกันสังคม” ว่าสามารถที่จะใช้ต่อได้หรือว่าจะถูกยกเลิกทันที ซึ่งผู้ว่างงานสามารถวางใจได้ เพราะผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้าง หรือออกจากงาน ประกันสังคมจะยังให้ความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี คือ

  1. เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

  2. คลอดบุตร

  3. ทุพพลภาพ

  4. เสียชีวิต

นอกจากนี้ หากต้องการส่งต่อประกันตนเองมาตรา 39 (ม.39) ก็สามารถทำได้ เงื่อนไขก็คือ เคยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และควรสมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินชดเชยว่างงานที่หลายคนสงสัย ที่หวังว่าจะช่วยคล้ายความกังวลของผู้ว่างงานกันไปบ้างได้แล้ว อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ได้นั้นก็มีจำกัดและน้อยกว่าค่าจ้างปกติที่เคยได้รับ ดังนั้นจึงต้องวางแผนหางานใหม่ที่ตอบโจทย์ แต่ด้วยเวลาที่จำกัดก็อาจทำให้หลายคนเกิดความกดดัน ดังนั้น การหันมาใช้บริการบริษัทจัดหางานคือหนึ่งในทางเลือกที่สามารถช่วยประหยัดเวลาและคลายความกังวลได้

บริษัทจัดหางานมืออาชีพอย่าง ManpowerGroup Thailand สามารถช่วยคุณหางานที่ใช่ ได้งานที่เหมาะกับทักษะ ประสบการณ์ และความชอบ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ได้ร่วมงานกับองค์ที่ใช่ เพราะเรามีงานในทุกสาขาวิชาชีพ ทุกสายงาน และทุกระดับ ที่เปิดรับสมัครในรูปแบบงานประจำ งานสัญญาจ้าง และงานชั่วคราวอีกด้วย

สามารถค้นหางานใหม่ที่ใช่ บนเว็บไซต์ของแมนพาวเวอร์ได้เลย คลิก

Manpower เก่งหาคน ถนัดหางาน “We Love our Jobs”

บริษัทจัดหางานชั้นนำระดับโลก ตอบโจทย์การให้บริการอย่างครบวงจร เพราะเราเชื่อว่า "คน" หรือ "Manpower" คือ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทุกธุรกิจ ด้วยประสบการณ์ในการสรรหาบุคลากรตั้งแต่ระดับทั่วไปจนถึงระดับบริหารให้เข้ากับองค์กรชั้นนำของเรากว่า 20 ปีในประเทศไทย เพื่อยกระดับตลาดแรงงาน พัฒนาศักยภาพพนักงานและธุรกิจสู่ความสำเร็จไปพร้อมกัน

ติดต่อเรา

LINE OA: @manpowergroup_th

Call Center: 02-171-2345

E-mail: [email protected]

Website:www.manpowerthailand.com