ประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา - Relevant Audience SEO Agency

ไขข้อสงสัย ลดหย่อนภาษี คืออะไร พร้อมสรุป 5 แนวทางลดหย่อนภาษี

รู้จักกับการลดหย่อนภาษี

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของพลเมืองไทย ซึ่งเป็นผู้มีรายได้สุทธิตลอดทั้งปีตั้งแต่ 150,000 บาท ขึ้นไป โดยอัตราภาษีที่ต้องชำระจะขึ้นอยู่กับยอดสุทธิของเงินได้ทั้งหมด หลังหักรายจ่ายตลอดทั้งปี ทั้งนี้ กรมสรรพากรมีข้อกำหนดสำหรับการลดหย่อนภาษีอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนชำระภาษีได้ถูกลง เพื่อให้สามารถนำเงินส่วนต่างไปเก็บออม หรือต่อยอดทางธุรกิจเพิ่มเติม 


ในบทความนี้ Manpower จะไขข้อสงสัยว่า การลดหย่อนภาษี คืออะไร การลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง และการลดหย่อนภาษีต้องทำยังไง พร้อมสรุปวิธีคำนวณภาษีที่ต้องชำระสำหรับวัยทำงานและ 5 แนวทางลดหย่อนภาษีประจำรอบปี 2566 


สรุปวิธีคำนวณภาษี

วิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา คือ “รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ” หลังจากนั้นให้นำ “เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย” โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้

  • ผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษี

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001-300,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 5%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 300,001-500,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 10%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,01-750,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 15%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 20%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 25%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 2,000,001-5,000,000 บาทต่อปี อัตราภาษีอยู่ที่ 30%

  • ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาทต่อปี ขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ 35%


ยกตัวอย่าง

นาย A มีรายได้ต่อปีจำนวน 500,000 บาท - ค่าใช้จ่ายจำนวน 250,000 บาท - ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 60,000 บาท (กรณีไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ ) = เงินได้สุทธิจำนวน 190,000 บาท ซึ่งเข้าข่ายอัตราภาษีที่ 10% ดังนั้นเงินภาษีที่นาย A ต้องจ่าย คือ 19,000 บาท


รวม 5 แนวทางลดหย่อนภาษี

จากวิธีการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาจะเห็นได้ว่า ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้อัตราภาษีถูกลง โดย 5 วิธีลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา ได้แก่

  1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับกรณีที่คู่สมรสไม่มีไม่มีเงินได้และจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนภาษีกฎหมายและบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน รวมไม่เกิน 120,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนกรณีอุปการะผู้พิการ หรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท


  1. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • เงินประกันสังคม ไม่เกิน 6,300

  • ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

  • ประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

  • ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท


  1. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท


  1. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือดอกเบี้ยที่จ่ายเพื่อซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท


  1. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ถ้าปีนั้นๆมีโครงการ

  • โครงการ "ช้อปดีมีคืน" สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตามช่วงเวลาที่โครงการกำหนดไว้ โดยสินค้าที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), สินค้า OTOP และ สินค้าหมวดหนังสือและ E-Book


ยกตัวอย่าง

นาย B มีรายได้เท่ากับนาย A ที่กล่าวถึงในตอนต้น คือ 500,000 บาทต่อปี และมีรายจ่ายเท่ากันเป็นจำนวน 250,000 บาท แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา นาย B ได้ซื้อประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี ขึ้นไป ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท ดังนั้นเงินได้สุทธิของนาย B จะเท่ากับรายได้ต่อปีจำนวน 500,000 บาท - ค่าใช้จ่ายจำนวน 250,000 บาท - ค่าลดหย่อน 160,000 บาท (ค่าลดหย่อนส่วนตัวรวมกับค่าลดหย่อนประกันชีวิต) = 90,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 150,000 บาท ส่งผลให้นาย B ได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งนี้ นาย B จำเป็นจะต้องยื่นภาษีพร้อมกับหลักฐานการซื้อประกันชีวิต เพื่อให้ได้รับสิทธิดังกล่าว


ส่วนกรณีที่มีการเสียภาษี ณ ที่จ่าย หรือค่าลดหย่อนภาษีมากกว่ารายได้ สามารถยื่นขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเข้าเช็คเงินคืนภาษีได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร


โดยการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ ในกรณีที่ถูกเรียกภาษีย้อนหลังเนื่องจากไม่ชำระภาษีตามเวลาที่กำหนด กรมสรรพากรจะมีการเรียกเบี้ยปรับเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่ล่าช้า โดยการวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างรัดกุมจะช่วยให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีได้ถูกลง และสามารถนำเงินส่วนต่างไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ 

แนะนำบริการรับทำเงินเดือนจาก Manpower

บริการรับทำเงินเดือนจาก Manpower ตอบโจทย์การให้การทำเงินเดือนอย่างครบวงจร เพราะเราเชื่อว่า "คน" หรือ "Manpower" คือ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทุกธุรกิจ ด้วยประสบการณ์ในการสรรหาบุคลากรตั้งแต่ระดับทั่วไปจนถึงระดับบริหารให้เข้ากับองค์กรชั้นนำของเรากว่า 20 ปีในประเทศไทย เพื่อยกระดับตลาดแรงงาน พัฒนาศักยภาพพนักงานและธุรกิจสู่ความสำเร็จไปพร้อมกัน


ติดต่อเรา

LINE OA: @manpowergroup_th

Call Center: 02-171-2345

E-mail: [email protected]

Website:www.manpowerthailand.com