3 เดือน ที่ผ่านมา -

แนะนำขั้นตอนในการเช็คเงินคืนภาษี พร้อมเทคนิคและช่องทางขอคืนภาษี

รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการเช็คเงินคืนภาษี

อย่างที่ทราบกันว่าการเช็คเงินคืนภาษีหรือตรวจสอบคืนภาษี เพื่อขอคืนภาษีนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องทำกันในทุกๆ ปี โดยการยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ (120,000 บาทต่อปี) เพื่อเสียภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร แต่นอกจากการเสียภาษีแล้ว ผู้เสียภาษียังสามารถ ‘ขอคืนภาษี’ ได้ด้วยเช่นกัน โดยในบทความนี้ Manpower จะพาไปทำความรู้จักกับการยื่นขอภาษีและวิธีเช็คเงินคืนภาษีที่สะดวกและเข้าใจง่าย

การขอคืนภาษี คืออะไร ?

การยื่นขอคืนภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษียื่นขอเงินภาษีคืนจากกรมสรรพากร โดยผู้ที่สามารถยื่นขอคืนภาษีได้จะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีมากกว่ามูลค่าภาษีที่ตนเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งสรรพากรจะเป็นผู้พิจารณาคืนภาษีตามเงื่อนไขและคืนเงินส่วนต่างระหว่างมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายจริงกับภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบการยื่นภาษีและเช็คเงินคืนภาษีตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

วิธีการเช็คเงินภาษีคืน มีอะไรบ้าง

วิธีเช็คเงินคืนภาษีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การตรวจสอบคืนภาษีกับเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

  2. กดเลือกหน้า My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลการยื่นภาษี

  3. ล็อกอินด้วยเลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน

  4. ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP

  5. กดตรวจสอบข้อมูลในช่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (90/91)

ในหน้าตรวจสอบข้อมูลจะแสดงข้อมูลรายได้ทั้งหมดตลอดปี พร้อมจำนวนเงินภาษี ณ ที่จ่ายที่ชำระไป ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถนำยอดรวมของภาษี ณ ที่จ่ายมาคำนวณภาษีเพื่อเช็กมูลค่าเงินคืนจากสรรพากรได้ โดยวิธีการ คือ ยอดรวมภาษี ณ ที่จ่าย-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = มูลค่าเงินคืน

ยกตัวอย่างเช่น นาย A มียอดรวมภาษี ณ ที่จ่ายที่ชำระไปตลอดทั้งปี 2566 มูลค่า 12,000 บาท แต่มูลค่าภาษีเงินได้บุคคลของนาย A อยู่ที่ 8,000 บาท ดังนั้นนาย A จะสามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ 4,000 บาท

โดยการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถคำนวณได้จาก เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีเงินได้บุคคล ซึ่งเงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

เคล็ดไม่ลับยื่นขอคืนภาษีให้ได้เงินคืนเร็วขึ้น

ในหน้าสุดท้ายของแบบฟอร์มยื่นภาษีรายได้บุคคลบนเว็บไซต์ของสรรพากรจะมีช่อง ‘ขอเงินคืน’ หากต้องการยื่นขอคืนภาษีก็สามารถเลือก ‘ต้องการขอคืน’ ได้เลย โดยสรรพากรจะใช้เวลาดำเนินการคืนภาษีภายใน 3 เดือน ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ได้เงินคืนเร็ว คือ การยื่นเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องและชัดเจน เพราะจะทำให้ขั้นตอนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

โดยผู้เสียภาษีสามารถเข้าไปตรวจสอบและเช็คสถานะเงินคืนภาษีได้ในเว็บไซต์ของสรรพากร ซึ่งจะแสดงสถานะตั้งแต่ ยื่นภาษี > นำเข้าข้อมูล > พิจารณาคืนภาษี > ส่งคืนภาษี > ได้รับคืนภาษี

อย่างไรก็ตาม หากกรมสรรพากรล่าช้าเกิน 3 เดือน ผู้เสียภาษีมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยต่อเดือน 1% ของมูลค่าเงินคืน โดยจะเริ่มคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป (เดือนสุดท้ายของการยื่นภาษี)

แนะนำช่องทางในการขอคืนภาษี

แนะนำ 4 ช่องทางยอดนิยม ในการขอคืนภาษี

โดยช่องทางในการขอคืนภาษีที่ได้รับความนิยม จะมีอยู่ 4 ช่องทาง ดังนี้

1.บัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ผูกกับบัตรประชาชน

การขอคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะดำเนินการโอนเงินคืนผ่านบัญชีธนาคารที่มีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ผูกกับบัตรประชาชนเอาไว้ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้แจ้งความประสงค์รับเงินคืนผ่านบัญชีธนาคารดังกล่าว

2.การคืนภาษีผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

หากไม่ประสงค์รับเงินคืนผ่านบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ผูกกับบัตรประชาชนเอาไว้ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

3.รับเงินคืนภาษีผ่านบัตรเงินสด e-money

หากผู้มีสิทธิรับเงินภาษีคืนเสียชีวิตระหว่างปี ผู้จัดการมรดกสามารถมาขอรับเงินคืนได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทยในรูปแบบบัตรเงินสด e-money โดยผู้จัดการมรดกจะต้องแสดงคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องและบัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง

4.รับภาษีเงินคืนผ่านเช็คเงินสด

ในกรณีที่ผู้ขอคืนภาษีเป็นชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะจัดส่งหนังสือ ค.21 พร้อมเช็คเงินสดให้ผ่านทางไปรษณีย์  เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

โดยช่องทางการรับเงินภาษีคืนที่เร็วที่สุด คือ บัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ผูกกับบัญชีธนาคารเอาไว้ สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถเข้าไปยื่นภาษีประจำปี 2566 ได้แล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน

แนะนำบริการรับทำเงินเดือนจาก Manpower

บริการรับทำเงินเดือนจาก Manpower ผู้นำในธุรกิจการจ้างงานระดับโลกที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรของคุณให้ทันยุคสมัย โดยบริการรับทำเงินเดือนของ Manpower มี 2 แบบ คือ

1.Payroll Service

บริการรับทำเงินเดือนแบบครบวงจรที่ Manpower เป็นผู้จ่ายเงินให้กับลูกจ้างในฐานะนายจ้างแทนองค์กร

2.Payroll Outsourcing

บริการคำนวณเงินเดือนที่องค์กรจะเป็นผู้จ่ายเงินให้ลูกจ้างเองในฐานะนายจ้าง

โดยบริการรับทำเงินเดือนของ Manpower จะครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจ่ายเงินเดือนพนักงานตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน ค่า OT คำนวณภาษี ไปจนถึงการจัดทำรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ประจำปี และแบบแสดงรายการภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 1 ก) ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรในฐานะนายจ้างและครอบคลุมสิทธิทางกฎหมายของลูกจ้าง