ประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา -

“แมนพาวเวอร์” พลัสพลังองค์กร ด้วยพลัง “ความหลากหลาย”

Xm109756 0

ไม่ใช่แค่กลุ่ม LGBTQ+ เท่านั้น แต่ความหลากหลายในที่นี้มีทั้งอายุ เชื้อชาติ การศึกษา ที่แมนพาวเวอร์ให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมและไม่ยอมทิ้งใครไว้ข้างหลัง

วันที่ 3 มิถุนายน 2567 คุณวณิชชา วิริยะกิจพัฒนา ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กร แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ผู้นำธุรกิจด้านให้บริการจัดหาคน-จัดหางานระดับโลก ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวในฟอรัมงาน BANGKOK PRIDE FORUM 2024 โดยทาง The Betterได้จัดในฟอรัมที่ชื่อว่า “LGBTQIAN+ เข้าใจพลังของความหลากหลายที่มีในทุกคน” ซึ่งหัวข้อที่คุณวณิชชาได้พูดคือ “พลัสพลังองค์กร ด้วยพลัง LGBTQIAN+” เกี่ยวกับการยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและเข้าใจตัวตนของพวกเขาจะลบล้างข้อจำกัดที่เกิดจากการเหมารวมลักษณะทางเพศ รวมถึงการขจัดการเหมารวมจะปลดปล่อยให้ทุกคนบรรลุศักยภาพได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากข้อจำกัดอันแบ่งแยกของสังคม

โดยคุณวณิชชา ได้เกริ่นให้ทุกคนทำความเข้าใจเกี่ยวกับแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทยว่า “เนื่องจาก แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เป็นองค์กรที่จัดหาคนเข้าตลาดแรงงาน ซึ่งในแต่ละปีเราสามารถจัดหาคนเข้าตลาดแรงงานได้กว่า 20,000 คน ดังนั้นเราสามารถพูดได้ว่าตลาดแรงงานวันนี้มีความหลากหลายเยอะขึ้นมาก ความหลากหลายในที่นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ทางด้านเพศเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษาด้วย และยังรวมถึงบุคลิกภาพอีกด้วย”

image.png

คุณวณิชชา กล่าวต่อว่า “แม้ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปิดรับ และเปิดกว้างมากขึ้นก็จริง แต่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ที่มาของความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมมาจากหลายปัจจัยมาก อย่างแรกมาจากบรรทัดฐานของเรา ยกตัวอย่างเช่นเราเรียนรู้และเรารับรู้มาว่าตำแหน่ง หรือหน้าที่นี้จะต้องเป็นคนประเภทไหนเท่านั้นที่จะมาทำงาน ปัจจัยอย่างที่สองเกิดจากอคติ เพราะความเหลื่อมล้ำมีอยู่ทุกภาคส่วน เช่น หากเราอยากได้วิศวกรเราจะคิดถึงผู้ชาย หากอยากได้แนวบริการเราก็อยากได้ผู้หญิง หรือแม้กระทั่งว่าตอนเราไปสัมภาษณ์งาน ถ้าเราแต่งตัวเป็นตัวเองมากเราก็จะถูกตัดสินได้ การอคติบางอย่างมันเกิดขึ้นในตลาดแรงงานไม่ได้แค่ LGBTQIAN+ เท่านั้น“

ความเหลื่อมล้ำที่คุณวณิชชากล่าวข้างต้นองค์กรสามารถปรับตัวได้โดยคุณวณิชชาแนะนำว่า "ก่อนที่จะพูดถึงองค์กร ขวัญอยากให้ทุกคนมองมาที่ตัวเองก่อน เริ่มจากตัวเราเองก่อน ตัวเราต้องรับรู้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติเกิดขึ้นกับใครก็ได้มันไม่ใช่เรื่องผิดแปลกเลย สิ่งสำคัญคือเราต้องเคารพตัวเอง เคารพสิ่งที่เราเป็น และเราต้องเคารพคนอื่นด้วย ในเมื่อเราอยากใช้สิทธิ์ของเรา เราต้องเคารพสิทธิ์คนอื่น และเมื่อเราเคารพตัวเองแล้วเราต้องมีความมั่นใจในตัวเองด้วยว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม และเมื่อไหร่ไปสู่ความมั่นใจแล้ว เราไม่โอ้อวด แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนและถูกกาลเทศะ”

image.png

คุณวณิชชาแนะนำจะต้องทำอย่างไรให้คนที่มีความหลากหลายได้รับการยอมรับมากขึ้น คุณวณิชชาแนะว่า "ให้มองว่าเราได้รับการยอมรับอยู่แล้วค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือเรารับรู้มันอย่างไรโดยเริ่มต้นที่ตัวเรา ต่อมาคือสถาบันครอบครัว หน่วยที่ใกล้ชิดกับบุคคลมากที่สุดต้องเปิดใจและเข้าใจยอมรับกันและกัน ขวัญเองโชคดีนะคะที่ครอบครัวเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นเรา มองสิ่งที่เราเป็น ครอบครัวของแฟนก็เข้าใจเช่นกัน ดังนั้นควรจะคิดว่าปัจจัยที่สองที่สำคัญคือสถาบันครอบครัวที่ทำให้เรายอมรับตัวเองและมีความมั่นใจมากขึ้น"

"ปัจจัยที่สามปัจจัยขององค์กรเรา ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ในฐานะที่เป็นหัวหน้างาน เราจะต้องมีความเปิดกว้างในเรื่องนี้ดูที่ความสามารถของเขาเรา ไม่ได้ดูที่ว่าคนคนนี้มีพฤติกรรมที่ดูเหมือนจะก้าวร้าวแบบนี้โตไม่ได้หรอก อันนี้เรียกว่าอคติส่วนบุคคล หากเราจะสนับสนุนเรื่องความเหลื่อมล้ำให้ลดลง ปัจจัยนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ เริ่มจากที่คุณที่เป็นเพื่อนร่วมงานคุณ เหยียดเพศหรือไม่ ถ้าวันนี้จะต้องมีการประเมินผลงาน ในฐานะหัวหน้างานคุณจะประเมินเขาจากผลงานหรือประเมินจากอคติส่วนบุคคล ดังนั้นหัวหน้างานจึงเป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในองค์กร" คุณวณิชชากล่าว

image.png

คุณวณิชชาได้กล่าวถึงในมุมเรื่องการแสดงออก ที่จะต้องมองย้อนกลับไปที่ตัวเราต้องเคารพตัวเอง และที่สำคัญเราต้องเคารพสถานที่ด้วย การแสดงออกของคุณย่อมได้รับการสนับสนุนอยู่แล้ว แต่การแสดงออกของคุณต้องไม่ละเมิดสิทธิคนอื่นต้องมีความเคารพและมีกาลเทศะ มีความเป็นมืออาชีพ  ไม่จำเป็นว่าจะต้องแสดงออกทางเรื่องการแต่งกาย แต่การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นก็มีผลเช่นเดียวกัน

แมนพาวเวอร์ เราส่งเสริมให้คนไม่ว่าจะเลเวลอะไร อายุงานเท่าไหร่ เพศอะไร หรือพูดภาษาอะไร เราส่งเสริมให้เขาแสดงความคิดเห็น เพราะการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างและหลากหลายจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ ส่งเสริมพลังบวกซึ่งกันและกันความมั่นใจมาจากข้างในเราและออกมาที่การแสดงออกของเราไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือที่ความคิดทั้งหมดมันส่งเสริมให้ผลงานของเราโดยรวมดีขึ้น 

คุณวณิชชายังได้กล่าวถึงการสนับสนุนจากองค์กรที่เป็นเชิงนโยบายว่า "การสนับสนุนขององค์กรคือ สนับสนุนเรื่องพื้นฐาน เช่น นโยบาย ปัจจัยขั้นแรกเวลาเราจะคัดเลือกคนเราไม่ได้เลือกปฏิบัติไม่ได้ดูที่สถาบันการศึกษา หรืออายุ เพศอะไรในฐานะองค์กรจะไม่เลือกปฏิบัติ สองเมื่อเขาเข้ามาแล้วเราก็ไม่เลือกปฏิบัติเราไม่ละเลยทุกๆ คน อย่างเช่นในแมนพาวเวอร์เมื่อเข้ามาปฐมนิเทศแล้ว การปฐมนิเทศจะมีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แม้ในรอบนั้นจะมีคนต่างชาติแค่คนเดียว ต้อนรับทุกคนอย่างอบอุ่น บ่มเพาะให้วัฒนธรรมองค์กร“

"นโยบายด้านสวัสดิการ เรามีประกันกลุ่ม เมื่อก่อนหากเราต้องทำประกันให้กับคู่ของเราที่เป็นสามีภรรยาเท่านั้น แต่องค์กรของเราสามารถขับเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียมกันตรงนี้ได้ โดยที่เราคุยกับบริษัทประกันว่าเราสามารถการันตีได้ว่าพนักงานคนนี้และคู่ของเขาเป็นคู่กันจริงๆ เป็นสิ่งที่ของเราเราช่วยผลักดันกันตรงนี้ได้เช่นกัน” คุณวณิชชากล่าว

image.png

เมื่อมีการผลักดันทั้งเรื่องของกฎหมาย ผลักดันในด้านของสังคม มีนโยบายการต่อต้านความไม่เป็นธรรม ภาคเอกชนเราทำอย่างไรกับพนักงานเราได้บ้างเรามีช่องทาง ที่จะให้รายงานความไม่เป็นธรรมที่ส่วนกลางได้พนักงานทุกคนสามารถรายงาน เหตุการณ์ที่ไม่เป็นธรรมได้ทั้งผู้ที่ถูกกระทำและผู้ที่ถูกกระทำหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์นั่นเองสามารถรายงานความเหลื่อมล้ำเพื่อให้ทางบริษัทแม่เข้ามาตรวจสอบได้ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน

คุณวณิชชากล่าวถึงความหลากหลายมีส่วนสำคัญต่อองค์กร “ในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแน่นอน พวกเราทุกคนเปรียบเสมือนเป็นมดที่ต้องช่วยกัน เหรียญมีสองด้านถ้าเรามองด้านหน้าแสดงว่ามันมีแต่หนึ่งเช่นกันนั่นหมายความว่าในกลุ่มหนึ่งมีคนที่หลากหลายกัน เมื่อเราประชุมแล้วเรารู้สึกว่าเราไม่สนใจความคิดของคนกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มของเรา เราตัดความคิดนั้นทิ้งแทนที่จะได้ความคิดเห็น 10 คนคิดคุณได้แค่ความคิดของกลุ่มคุณเอง แทนที่จะได้ต่อยอดสิ่งใหม่อีก 10 ไอเดีย เราก็ได้แค่ไม่กี่ไอเดียเราไม่สามารถนำไปพัฒนาอะไรใหม่ใหม่ได้มากกว่าเดิม”

image.png

“องค์กรที่ยังมีความเหลื่อมล้ำ หากเป็นตัวขวัญเองที่ต้องอยู่ในองค์กรดังกล่าวคงจะอยู่ไม่ได้ เมื่อเรามีความกังวล มีความไม่สบายใจ ประสิทภาพการทำงานก็ย่อมไม่ดี แน่นอนว่าจำเป็นต้องออกจากองค์กรนั้นๆ ออกไปเจริญเติบโตที่อื่น ทั้งที่จริงเราอาจจะมีประโยชน์ต่อองค์กรนั้นก็ได้ เราชาว LGBTQ+ เรามีคุณค่าในตัวเอง เรารู้ความสามารถของเราเอง หากองค์กรมีความเหลื่อมล้ำก็จะเสียเราไป เพราะทุกคนในองค์กรมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด ขอเพียงแค่คุณเคารพตัวเอง เคารพผู้อื่นและมีความมั่นใจในการแสดงออกในความคิดเห็นของคุณ แมนพาวเวอร์ มีมุม career counseling เพื่อปรึกษาอาชีพการงาน ถามเรื่องอื่นๆ ในชีวิต รับฟังคนทุกคน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบริษัทควบคุมคนหลากหลายมาแลกเปลี่ยนความคิดกันสักเดือนละครั้ง“

เมื่อพูดถึงการรับสมัครงานในปัจจุบันคุณวณิชชาได้กล่าวว่า "ปัจจุบันในการสมัครงานเราก็ไม่ได้ระบุเพศ อายุ เราจะจะเขียนว่าเพศไม่จำกัด อายุไม่จำกัด การศึกษา เวลาสัมภาษณ์ขอให้เป็นตัวของเราเอง แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ให้เป็นตัวเราจริงๆ ไม่ใช่ตัวเราอย่างที่คนอื่นให้เป็น ไม่ต้องแสดงความมั่นใจจนเกินไปเพราะบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น เราแสดงในสิ่งที่เราเป็นจริงๆ และเราเคารพตัวเอง เขาถามหาสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จในอดีตส่วนบุคลิกต่างๆ ที่มันไม่เข้ากันเราสามารถที่จะปรับจูนกันได้" 

คุณวณิชชากล่าวปิดท้ายว่า ”สุดท้ายนี้ที่ขวัญอยากจะฝากคือ เคารพกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถัดมาคืออย่าพึ่งท้อแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเราให้เกียรติเขาไปแล้วแต่ไม่เห็นมีใครจะให้เกียรติเรากลับเลย เราก็อย่าพึ่งท้อใจ สังคมเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น คนเริ่มทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เราจำเป็นจะต้องให้เกียรติคนอื่นเหมือนที่เราเคยให้เกียรติมา เราควรเปิดใจและให้โอกาสกับตัวเองกล้าเป็นตัวเอง กล้าที่จะให้กำลังใจตัวเองในการที่จะเดินไปในชีวิตของตัวเอง”

Credit: The Better News