มากกว่า 1 ปี ที่ผ่านมา -

ยืดหยุ่น ไม่ได้แปลว่า หย่อนยาน ชูนโยบาย Flexibility กับแมนพาวเวอร์

Work-life balance, Flexibility, Productive, Motivate, แรงจูงใจในการทำงาน, ความยืดหยุ่น, ตอกบัตรเข้างาน, งานยุคใหม่, Work from home, วัฒนธรรมการงาน, วัฒนธรรมองค์กร, สวัสดิการพนักงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน

ปัจจุบัน Flexibility หรือ ความยืดหยุ่น เป็นคำที่เราได้ยินบ่อย ๆ ในการทำงาน เพราะเงินเดือนกับเนื้องานไม่ได้เป็นเพียง 2 ปัจจัยหลักในการพิจารณาเลือกงานอีกต่อไป คนหางานหลายคนคำนึงถึงทั้งเรื่องการใช้เวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาออฟฟิศ ความอิสระในการปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน วันหยุด สวัสดิการ และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (Work-life balance) เป็นเหตุผลหลักในการสมัครงานด้วย เพราะองค์ประกอบหลักเหล่านี้ ตอนนี้คือแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จของพนักงาน

จากผลกระทบจาก Covid-19 บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี เพราะความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้เกิดการ Work from home ขึ้นเป็น option หลักในการทำงาน แม้ตอนนี้สถานการณ์ทุกด้านมีแนวโน้มจะดีขึ้นแล้ว แต่ระบบการทำงานเข้าออฟฟิศตอกบัตรแบบดั้งเดิม เริ่มถูกตั้งคำถามว่า “จำเป็นแค่ไหน?” ในเมื่อช่วงโควิดก็พิสูจน์ได้แล้วว่า หลายองค์กรยังคงสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้

จนเกิดคำถามสำคัญขึ้นว่า ทิศทางต่อจากนี้ ควรเป็นอย่างไร บริษัทและองค์กรควรปรับตัวมากแค่ไหนหลังยุคโควิด เพื่อรั้งพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับบริษัทไปนาน ๆ 

ซึ่งการผลักดันนโยบายด้าน Flexibility เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ เพราะทั้งการสร้างความยืดหยุ่นเรื่องเวลาการทำงานและการควบคุมประสิทธิภาพการสื่อสารกับขั้นตอนปฏิบัติงาน ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อผลสำเร็จของงานทั้งสิ้น โดย Flexibility ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัว ฉะนั้นคำถามหลักที่องค์กรต้องตั้งโจทย์ให้ตัวเองคือ

“จะยืดหยุ่นอย่างไรไม่ให้วินัยหย่อนยาน ?”

อันดับแรกเลยที่บริษัทและองค์กรควรทำความเข้าใจก่อนจะปรับนโยบาย คือ ความต้องการและทัศนคติของพนักงาน โดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้สำรวจความคิดเห็นจากพนักงานกว่า 5,000 คนใน 5 ประเทศทั่วโลก พบว่าวิธีการทำงานแบบ “ไฮบริด” หรือแบบ “ลูกผสม” ระหว่างการเข้าออฟฟิศและการทำงานจากที่อื่น (Remote work) เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด 

โดยผลสำรวจระบุว่า

  • 64% ต้องการให้เหลือวันทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน (เงินเท่าเดิมแต่ปริมาณงานเยอะเพราะเวลาที่เร่งรัดขึ้น)

  • 45% ต้องการกำหนดเวลาเข้างานและเลิกงานเองได้

  • 35% ต้องการเลือกได้ว่าจะนั่งทำงานที่ไหนในแต่ละวัน (บ้าน หรือ ที่ทำงาน) ขึ้นกับความสะดวกในวันนั้น ๆ

  • 18% ต้องการให้เหลือวันทำงานเพียง  4 วันต่อสัปดาห์ โดยยอมรับเงินเดือนน้อยลงแลกกับสมดุลในชีวิตทำงานที่มากขึ้น

เมื่อเข้าใจแนวคิดและแรงบันดาลใจของพนักงานแล้ว ผู้บริหารก็ต้องทำการบ้านเพื่อตอบโจทย์ Flexibility ที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของตัวเอง เพราะในปัจจุบัน องค์กรผู้ว่าจ้างต้องหันมาฟังเสียงของคนหางานมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยใช้การชูนโยบายความยืดหยุ่นในการทำงานมาเป็นหัวใจแรงขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งนับเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลผลิตของการแพร่ระบาดของโควิด และเป็นบททดสอบสำคัญของบริษัทต่าง ๆ ด้วย

ปัญหานี้นับเป็นประเด็นเร่งด่วน เพราะในช่วงที่ผ่านมากรุงเทพฯ ติด 5 อันดับเมืองที่มี Work-life balance แย่ที่สุดในโลกถึง 2 ปีซ้อน สถิติที่ออกมาทำให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ควรทบทวนนโยบายเพิ่มความยืดหยุ่น หรือ flexibility ให้มากขึ้น ซึ่งฝ่ายบริหาร แผนกหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องวางแผนและยุทธศาสตร์ให้ดีและครอบคลุม เช่น ฝ่าย HR จะสามารถช่วยให้พนักงานปรับตัว ปรับทัศนคติ และทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วงของการเปลี่ยนแปลงได้เป็นต้น

หากต้องการคำปรึกษาเรื่องการจัดหางานและจัดหาคน รวมถึงการ Outsource พนักงานและคำแนะนำในการปรับนโยบาย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป พร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจของคุณ