7 เดือน ที่ผ่านมา -

วิธีสังเกตลิ้งก์มิจฉาชีพ! เช็คให้ดีก่อนคลิก

มิจฉาชีพ, ลิ้งก์มิจฉาชีพ, ลิงก์ปลอม, มิจฉาชีพออนไลน์, SMS ปลอม, เตือนภัยมิจฉาชีพ, โจรกรรมออนไลน์, ดูดเงิน, มิจฉาชีพหลอกเอาเงิน, มิจฉาชีพทางโทรศัพท์

​ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อค้นหาข้อมูล การซื้อของ หรือแม้กระทั่งการทำธุรกรรมออนไลน์

แต่!!! ความสะดวกสบายเหล่านี้อาจแฝงไปด้วยภัยอันตรายจากมิจฉาชีพเช่นเดียวกัน เพราะในปัจจุบันก็มีเหยื่อหลายรายถูกล่อลวงจากความไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพ โดยภัยอันตรายของเว็บไซต์ปลอมส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการตั้งผ่าน URL หรือการพาดหัวเว็บไซต์ให้ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริง หลอกให้เราคลิกลิงก์เพื่อหวังล้วงข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง

เนื่องจากเดือนตุลาคมนี้ เป็นเดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Month) ทางแมนพาวเวอร์จึงอยากมาแบ่งปันวิธีสังเกตลิ้งก์เว็บไซต์ปลอมต่าง ๆ มาฝากกันค่ะ

  • เว็บไซต์ที่มีตัวตนจริง ๆ หรือเว็บไซต์ที่เป็นทางการส่วนใหญ่นั้นจะใช้ชื่อเว็บไซต์ที่สามารถจดจำได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน เช่น manpowerthailand.com หรือ google.com เป็นต้น

  • URL https ไม่มีตัว S หากพบว่า https ที่อยู่ต้นลิ้งก์ไม่มีตัว S ให้หลีกเลี่ยงเลยค่ะ เพราะตามปกติแล้วลิ้งก์ที่ปลอดภัย จะมีตัว s อยู่เสมอค่ะ

  • อีกวิธีที่เราสังเกตได้คือ การสังเกตโดเมนเนม โดยปกติแล้วเว็บไซต์ทั่วไปที่เป็นเว็บไซต์ค้าขายออนไลน์/เว็บไซต์เชิงพาณิชย์จะใช้โดเมนเนมเป็น .com แต่ถ้าหากเป็นเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่สกุลที่ใช้จะมีท้ายลิงก์เป็น .go.th และ .or.th แต่นอกจากโดเมนเนมที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็ยังมีนามสกุลอื่น ๆ ที่เราสามารถตรวจสอบได้เหมือนกันอีกนะ ตามไปดูลิสต์นามสกุลด้านล่างนี้เลย

  • .go.th : หน่วยงานภาครัฐ

  • .or.th : องค์กรพัฒนาเอกชน เช่น มูลนิธิ พรรคการเมือง องค์กรอิสระ

  • .ac.th : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา

  • .co.th : ธุรกิจร้านค้าในไทย

  • .mi.th : หน่วยงานภายใต้กองทัพไทย

  • .net.th : ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม

  • .in.th : องค์กรทุกประเภทตามกฎหมายไทย

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคดี ๆ ที่เรานำมาฝาก เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพที่แอบอ้างทำเว็บไซต์ปลอม ดังนั้นโปรดระวัง และเช็คให้ชัวร์ก่อนจะทำธุรกรรมออนไลน์ หรือคลิกลิ้งก์ต่าง ๆ นะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วน: BOT, Krungsri