10 เดือน ที่ผ่านมา -

กรี๊ดสิครับ กรี๊ดมันออกมา! "ห้องกรี๊ดในออฟฟิศ" ช่วยพนักงานได้จริงหรอ?

ห้องกรี๊ด, ปัญหาสุขภาพจิต, สุขภาพจิต, สุขภาพจิตพนักงาน, คนทำงาน, โรคจิตเวช, โรคซึมเศร้า, อาการซึมเศร้า, ความเครียด, เครียด, ทำงาน

​กรี๊ดสิครับ กรี๊ดมันออกมา! วลีเด็ดฟาดไม่ยั้งของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวดัง เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 เรามามองในมุมของการบำบัดความเครียดบ้าดีกว่าว่า การกรี๊ด หรือ การกรีดร้อง มีผลต่อการบำบัดหรือการคลายเครียดอย่างไร

"ไพรมัล เธอราพี” (Primal Therapy) หรือถ้าเรียกแบบบ้าน ๆ ก็คือ "การกรีดร้องบำบัด" เป็นแสดงความโศกเศร้า ความเครียด และความโกรธ ออกมาด้วยการกรีดร้อง แทนที่จะเก็บอารมณ์เหล่านั้นไว้ จนมันแน่นอยู่ในอก ที่มีมาตั้งแต่ยุค 70

ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาโดย อาเธอร์ ยานอฟ นักจิตอายุรเวทชาวอเมริกัน มาตั้งแต่ยุค 1970 โดยยานอฟได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาอาการของ จอห์น เลนนอน หนึ่งในสมาชิกวง The Beatles และ โยโกะ อูโนะ ภรรยาของเขา

เบื้องหลังการกรีดร้องมีอะไร? อะไรทำให้เรารู้สึกว่าการกรี๊ดออกมามันเท่ากับการปลดปล่อย? และความรู้สึกเหล่านั้นมีคำอธิบายได้บ้างหรือเปล่า?

การกรีดร้องสามารถช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกโล่งและสงบ ไม่แตกต่างจากการร้องไห้เมื่อเราอยู่ในจุดที่ไม่สามารถแบกรับอะไรต่อไปได้อีกแล้ว ดร.รีเบคก้า เซมเมนส์-วีลเลอร์ อาจารย์อาวุโสด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมซิตี้ ระบุว่ามีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าเมื่อการตะโกนออกดัง ๆ หลังจากที่ร่างกายบาดเจ็บ สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาความเครียดในระยะสั้นได้อีกด้วย

การบำบัดด้วยการกรีดร้องไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาสุขภาพจิตอย่างถาวร แต่สามารถใช้ในการระบายอารมณ์และความเครียดแบบปัจจุบันทันด่วน แต่ก็ต้องระวังให้ดีเพราะหากใช้วิธีระบายความโกรธด้วยการตะโกน หรือกรี๊ดมากเกินไป อาจจะทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าวได้

ในบริบทในช่วงหลังมานี้ เรายังเห็นความต้องการ ‘ห้องกรี๊ด’ ให้พนักงานบริษัท เป็นห้องที่เปิดไว้สำหรับให้คนที่ทำงานเครียด สามารถเดินเข้าไปแล้วปลดปล่อยอารมณ์ของพวกเขาออกมาและเดินออกมาทำงานต่อได้ ซึ่งในโลกปัจจุบัน มีเรื่องมากมายเหลือเกินที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้น

จึงนำมาถึงคำถามสำคัญว่าสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับการร้องไห้ การกรีดร้อง การพยายามรักษาแผลใจผ่านการกรีดร้อง และการเดินเข้าหาห้องระเบิดอารมณ์นั้น เป็นหนทางที่ดีจริง ๆ ในการรักษาและปลดปล่อยหรือไม่?

เรามองว่าปัญหาของพนักงาน คือปัญหาของบริษัทเช่นกัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ปหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะเห็นด้วยกับเราว่า ในยุคปัจจุบันที่ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่อง common ในสังคม เรายิ่งต้องเข้าอกเข้าใจและดูแลจิตใจของคนในองค์กรให้ดี ให้พนักงานไม่กดดันกับงานมากจนเกินไป รู้สึกภูมิใจในงานของตัวเอง และรับรู้ถึงคุณค่าที่ตนเองเป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กร

แต่ถ้าหากวันใดที่เป็นรู้สึกอึดอัด อัดอั้น หัวร้อนเหลือเกิน ความโกรธพร้อมจะปะทุอยู่ทุกเมื่อ การเอาหมอนปิดหน้าแล้วกรีดร้องออกมา หรือตะโกนดัง ๆ ขณะที่น้ำเย็นจากฝักบัวกำลังรดศีรษะ ก็เป็นทางเลือกที่ไม่แย่และสามารถปลดปล่อยอาการหัวร้อนได้อย่างรวดเร็ว