4 เดือน ที่ผ่านมา -

มาตรการใหม่จากรัฐบาล Easy E-receipt 2567 คืออะไร? ต้องซื้ออะไร ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?

ภาษี, ลดหย่อนภาษี, ช้อปดีมีคืน, E-tax, Easy E-Receipt, E-Invoice, ร้านค้าที่เข้าร่วม Easy E-Receipt, ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์, ยื่นภาษี, ซื้อประกันลดหย่อนภาษี, ยื่นภาษีปี 67, ยื่นภาษีออนไลน์, ยื่นภาษียังไง, วิธียื่นภาษีออนไลน์, กรมสรรพากร, เงื่อนไขลดหย่อนภาษี

มาตรการใหม่จากรัฐบาล Easy E-receipt2567 คืออะไร? ต้องซื้ออะไร ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

 

ใครที่กำลังมองหาโครงการช้อปดีมีคืน 2567 เพื่อนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี ในปีนี้รัฐบาลได้จัดตั้งโครงการใหม่เข้ามาแทน นั่นก็คือ “Easy E-receipt” เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีให้สูงสุดถึง 50,000 บาท! โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

 

โครงการ Easy E-receipt 2567 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริโภคในประเทศและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีและการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลดีต่อการจัดเก็บภาษีในระยะยาว คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเพิ่มเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท

Easy E-Receipt กับ ช้อปดีมีคืน ต่างกันไหม?

มาตรการ Easy E-Receipt มีความคล้ายคลึงกับ โครงการช้อปดีมีคืน (E-Refund) มาก ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สนับสนุนการบริโภคในประเทศและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี โดยข้อแตกต่างระหว่าง Easy E-Receipt กับ ช้อปดีมีคืน มีอยู่ 2 ข้อหลัก ๆ เลยคือ

1. รูปแบบใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐาน จะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Receipt) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) เท่านั้น

2. Easy E-Receipt มีระยะเวลาการใช้จ่ายอยู่ในช่วง 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อใช้ยื่นและขอคืนภาษีต้นปี 2568

3. จากเดิม ช้อปดีมีคืน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท โดย 30,000 แรกจะต้องมีใบกำกับภาษีกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วน 10,000 ที่เหลือจะต้องเป็นใบกำกับรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่สำหรับมาตรการ Easy E-Receipt สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท

Easy E-Receipt กับ ช้อปดีมีคืน ต่างกันไหม?

มาตรการ Easy E-Receipt มีความคล้ายคลึงกับ โครงการช้อปดีมีคืน (E-Refund) มาก ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สนับสนุนการบริโภคในประเทศและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี โดยข้อแตกต่างระหว่าง Easy E-Receipt กับ ช้อปดีมีคืน มีอยู่ 2 ข้อหลัก ๆ เลยคือ

1.       รูปแบบใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐาน จะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Receipt) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) เท่านั้น

2.       Easy E-Receipt มีระยะเวลาการใช้จ่ายอยู่ในช่วง 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อใช้ยื่นและขอคืนภาษีต้นปี 2568

3.       จากเดิม ช้อปดีมีคืน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท โดย 30,000 แรกจะต้องมีใบกำกับภาษีกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วน 10,000 ที่เหลือจะต้องเป็นใบกำกับรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่สำหรับมาตรการ Easy E-Receipt สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท

 

เราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประการที่สามารถออก E-Tax Invoice & e-Receipt ได้จากที่ไหน?

ปัจจุบัน (ณ วันที่ 21ธันวาคม 2566) มีผู้ประกอบการที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้จำนวน

2,499 ราย ทุกท่านสามารถเช็คว่าร้านค้านั้นสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & E-Receipt) ได้หรือไม่ ผ่านเว็บไวต์ https://etax.rd.go.th/ ไป ที่เมนู “ผู้มีสิทธิจัดทำ”

ช้อปลดหย่อนภาษี ต้องซื้ออะไร ถึงใช้สิทธิ EASY E-Receipt ได้?

สินค้าและบริการที่เข้าร่วม
  • สินค้าและบริการทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือของใช้อื่นๆในชีวิตประจำวันที่ได้ซื้อจากร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูป ในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่มีสาขาทั่วไป หากเป็นร้านค้าอื่น ๆ ให้มองหาสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ที่หน้าร้านค้า

  • ค่าหนังสือ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, E-Book และสินค้า OTOP (เฉพาะที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว)

  • ทองคำรูปพรรณ นำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จเท่านั้น เพราะทองคำไม่ต้องเสียภาษี

  • ซ่อมรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เข้าศูนย์ เปลี่ยนยางรถยนต์ หรืออุปกรณ์แต่งรถ

  • ค่าที่พักโรงแรม และค่าอาหารโรงแรม ที่ได้เข้าพักหรือใช้บริการตามระยะเวลาของโครงการ Easy E-Receipt

สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีไม่ได้
  • ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เบียร์ ไวน์ และยาสูบ

  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ

  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ

  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า

  • ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต

  • ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ก็ตาม

  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

  • ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าทำศัลยกรรม

  • ค่าอาหารสัตว์ทุกประเภท

สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ มาตรการ Easy E-Receipt มีความคล้ายคลึงกับ ช้อปดีมีคืน แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันบางประการ คือ รายการที่ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น, ปรับวงเงินเพิ่ม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท และที่สำคัญ รูปแบบใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐาน จะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Receipt) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) เท่านั้น

 

รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมรีบวางแผนซื้อสินค้า และบริการให้ดี เพื่อนำไปใช้ยื่นใช้สิทธิลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท (ยื่นต้นปี 2568) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น นะคะ!!!

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: กรมประชาสัมพันธ์, กรมสรรพากร, iTAX