7 เดือน ที่ผ่านมา -

Burnout Syndrome คืออะไร? ภาวะหมดไฟในการทำงาน มีสาเหตุและวิธีแก้อย่างไรบ้าง

Burn Out คืออะไร

หนึ่งในความท้าทายที่องค์กรยุคใหม่ทั่วโลกกำลังเผชิญ คือ Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรในหลายด้าน ในบทความนี้ Manpower จะพาไปเจาะลึกเกี่ยวกับภาวะ Burnout พร้อมแนะนำแนวทางสำหรับองค์กร เพื่อช่วยลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ของพนักงาน

Burnout คืออะไร?

Burnout คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือหมดไฟในการใช้ชีวิต ซึ่งแม้ภาวะนี้จะไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้บัญญัติเอาไว้ว่า เบิร์นเอ้าท์ คือ กลุ่มอาการเหนื่อยหน่ายทางจิตใจ อันมีผลมาจากความเครียดในที่ทำงานที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

สาเหตุของภาวะหมดไฟในการทำงานหรือ Burnout

โดยสาเหตุหลักที่พบว่า ทำให้เกิดภาวะ Burnout ได้แก่

1.ปริมาณงานที่มากเกินไปอย่างไม่สมเหตุสมผล

พนักงานถูกมอบหมายให้ทำงานเพิ่มเติม ส่งผลให้ปริมาณงานมากเกินไป และไม่สามารถจัดการงานได้ทันกำหนด 

2.วัฒนธรรมองค์กรไม่เป็นมิตร

พนักงานได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เป็นมิตร ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเพศ นินทา การเมือง และการบูลลี่

3.ขาดการสนับสนุนจากหัวหน้างาน

พนักงานไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานอย่างเหมาะสม ทำให้รู้สึกขาดที่ปรึกษาและพึ่งพิง

4.การบริหารงานแบบ Micro Management

Micro Management คือ การบริหารงานที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุม หรือการดูแลรายละเอียดของงานอย่างมากจนเกินไป จนทำให้พนักงานรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจ หรือเกิดความไม่มั่นใจในตนเอง

5.เงินเดือน หรือผลตอบแทนที่ไม่ยุติธรรม

เงินเดือน หรือผลตอบแทนที่ไม่ยุติธรรมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกไร้คุณค่าในที่ทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง ทั้งงานหลักและงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม

สาเหตุทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้ภาวะ Burnout จะเกิดขึ้นที่ตัวพนักงาน แต่องค์กรมีบทบาทสำคัญที่ช่วยป้องกัน และลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ของพนักงานได้

ผลกระทบของภาวะ Burnout ต่อพนักงาน

ภาวะ Burnout ส่งผลกระทบต่อพนักงานโดยตรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ยกตัวอย่างผลกระทบ ดังนี้

1.ความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ 

ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน หมดกำลังใจ ไปจนถึงความรู้สึกด้านลบต่อตนเองและผู้อื่น โดยอาจนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมและสุขภาพจิตได้ในระยะยาว

2.ปัญหาด้านการนอนหลับ และรับประทานอาหาร

โดยภาวะ Burnout มักก่อให้เกิดปัญหาด้านการนอนหลับและการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้นอนหลับมากหรือน้อยเกินไป และรับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดอย่างบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอื่น ๆ

3.ปัญหาด้านสุขภาพ 

ภาวะ Burnout ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันต่ำลง ปวดกล้ามเนื้อ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และอื่น ๆ

โดยการศึกษาของThe Business Journalพบว่า พนักงานกว่า 1 ใน 3 ตัดสินใจลาออก เนื่องจากประสบกับภาวะ Burnout

ผลกระทบของภาวะ Burnout ต่อองค์กร

เมื่อพนักงานเกิดภาวะ Burnout สามารถส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ในหลายมิติ ยกตัวอย่างผลกระทบ ดังนี้

1.รายได้ลดลง

ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ลดลงจะส่งผลให้คุณภาพของงานลดลงตามไปด้วย โดยอาจทำให้ลูกค้ายกเลิกสัญญา และรายได้ลดลง

2.สูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถ

บุคลากรที่มีความสามารถมักมองหาองค์กรที่สามารถตอบโจทย์ตนเองได้ ทั้งด้านการเติบโตในหน้าที่การงาน สุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้นบุคลากรกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มลาออกสูงเมื่อประสบกับภาวะ Burnout ส่งผลให้องค์กรสูญเสียบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

3.งบประมาณเพิ่มขึ้น 

ในกรณีที่พนักงานลาออกเป็นจำนวนมาก หรือความถี่ในการลาออกสูง องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพิ่ม ทั้งในกระบวนการสรรหา เทรนนิ่ง และการเสนอฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ องค์กรยังได้รับผลกระทบอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว อาทิ การสูญเสียภาพลักษณ์ในมุมมองของลูกค้า ชื่อเสียงที่ไม่ดึงดูดบุคลากรคุณภาพ และประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งที่ลดลง

5 วิธีแก้ Burnout ที่ควรรู้

วิธีแก้ Burnout Syndrome มีอะไรบ้าง

แล้ว Burnout แก้ยังไงได้บ้าง? โดยองค์กรสามารถลดกระทบจากพนักงาน Burnout ได้ ด้วยการป้องกันโอกาสเกิดภาวะ Burnout ตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนี้

1.การจัดการปริมาณ และความยาก-ง่ายของงานอย่างเหมาะสม

วิธีการนี้จะช่วยไม่ให้พนักงานคนใดคนหนึ่งทำงานมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดการงาน และมุมมองต่อคุณค่าของตนเอง

2.ปรับปรุงคุณภาพการบริหารงานของหัวหน้าทีม หรือหัวหน้าแผนก

การบริหารงานอย่างมีคุณภาพจะช่วยให้สมาชิกในทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง 

3.สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตร 

พื้นที่การทำงานควรปราศจากการบูลลี่ พูดจาเสียดสี เหยียดเพศ และพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่า ความคิดเห็นของตนเองมีคุณค่าและถูกรับฟัง

4.กำหนดนโยบายเพิ่มเงินเดือน หรือรางวัลตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม

นโยบายที่ชัดเจนและยุติธรรมจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่า ความทุ่มเทในหน้าที่การงานถูกมองเห็น และมีคุณค่า

5.ส่งเสริมนโยบายด้านสุขภาพ 

สุขภาพที่แข็งแรงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ได้ นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมสุขภาพขององค์กร เช่น ส่วนลดฟิตเนส อาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ยังชี้ให้พนักงานเห็นถึงความใส่ใจ และคุณภาพชีวิตที่ดี

กุญแจสำคัญที่ช่วยให้พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี คือ การบริหารองค์กรอย่างมีคุณภาพ โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะ Burnout ของพนักงาน และเป็นผลดีต่อองค์กรในระยะยาว ดังนั้นเจ้าขององค์กรหลายคนจึงเลือกว่าจ้างผู้บริหาร แทนการบริหารองค์กรด้วยตนเอง 

อย่างไรก็ตาม การสรรหาผู้บริหารที่มีความสามารถอย่างแท้จริงเป็นเรื่องท้าทาย เพราะต้องมีทั้งองค์ความรู้และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยควรเลือกสรรหาพนักงานระดับผู้บริหารผ่านเว็บไซต์หางานหรือบริษัท HRที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างองค์กรที่เติบโตอย่างแข็งแรง

แนะนำบริการสรรหาพนักงานระดับผู้บริหารจาก Manpower

บริการสรรหาพนักงานประจำทุกระดับจากManpowerตอบโจทย์การสรรหาพนักงานประจำในทุกระดับ รวมถึงบริการ HR แบบครบวงจร เพราะเราเชื่อว่า "คน" หรือ "Manpower" คือ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทุกธุรกิจ ด้วยประสบการณ์ในการสรรหาบุคลากรตั้งแต่ระดับทั่วไปจนถึงระดับบริหารให้เข้ากับองค์กรชั้นนำของเรากว่า 20 ปีในประเทศไทย เพื่อยกระดับตลาดแรงงาน พัฒนาศักยภาพพนักงานและธุรกิจสู่ความสำเร็จไปพร้อมกัน

ติดต่อเรา

LINE OA: @manpowergroup_th

Call Center: 02-171-2345

E-mail: [email protected]